รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 29 ปิยนาถ บุนนาค “…บัดนี้เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า นักเรียนที่ได้รับการศึกษา ตามแนวทางที่ปรับปรุงใหม่ ซึ่งได้รับการศึกษาอบรมอย่างเหมาะ สมดีทั้งด้านวิชาความรู้ การปฏิบัติ และจริยธรรมตามหลักศาสนา นั้นได้รับความสำ �เร็จที่ดีเป็นอันมาก บางคนมีโอกาสได้เข้าศึกษาเล่า เรียนชั้นสูงขึ้นไปอีก บางคนตั้งตัวเป็นหลักฐานและเป็นหัวหน้าทำ � ประโยชน์ในสังคม แสดงว่างานที่ท่านทั้งปวงได้เพียรพยายามกระทำ � มาด้วยความเหนื่อยยากนั้น มิใช่จะทำ �ให้เหนื่อยเปล่า หากแต่เป็น งานสำ �คัญซึ่งให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุด…” ๔๒ อนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำ �เนินไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ ผู้สำ �เร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒสงขลา นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๓๕ รวม ๑๖ ครั้ง (ยกเว้น พ.ศ. ๒๕๒๕ เพียงปีเดียวที่ไม่ได้เสด็จฯ) การเสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตรแต่ ละครั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่ผู้ที่เข้ารับพระราชทาน ปริญญาบัตร ซึ่งล้วนมีสารัตถะอันเป็นคุณูปการต่อการทำ �งานของบัณฑิตและพสกนิกรทั้งมวลเพื่อ พัฒนาตนเอง พัฒนาสังคมและประเทศ ทรงตอกย้ำ �และเสริมพระราชปณิธานและพระราชประสงค์ ที่จะให้ทุกคนปฏิบัติตนตามพระบรมราโชวาทที่ว่า “รู้รักสามัคคี” กล่าวคือให้มีความรอบรู้เข้าใจ งานที่กระทำ �ให้มีความรักความศรัทธาต่องานที่กระทำ �และให้ยึดความสามัคคีปรองดองในการกระ ทำ �ผนวกด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตและความเป็นผู้มีคุณธรรมเป็นหลักสำ �คัญ นอกจากนี้พระบรม- ราโชวาทยังเป็นเสมือนบันทึกทางประวัติศาสตร์ของสถาบันอุคมศึกษานั้น ๆ ด้วย ๔๓ การเสด็จพระราชดำ �เนินไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำ �เร็จการศึกษาเกือบทุกครั้งจะ อยู่ในช่วงที่เสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำ �หนักทักษิณราชนิเวศน์เพื่อทรงเยี่ยม ราษฎรและทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจสงเคราะห์ประชาชนและทรงติดตามโครงการตามพระ ราชดำ �ริในจังหวัดใกล้เคียง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีบทบาทสำ �คัญอย่างยิ่งในการกำ �หนด นโยบายและการดำ �เนินนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการแก้ปัญหาเรื่องการศึกษาซึ่งเป็นปัญหาพื้น ฐานประการหนึ่งของปัญหาการปกครองชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้พระองค์ ยังทรงมีส่วนสำ �คัญในการกำ �หนดนโยบายและการดำ �เนินนโยบายของรัฐบาลในเรื่องอื่น ๆ ที่เป็นการ แก้ปัญหาการปกครองอีกนานัปการ พระราชกรณียกิจดังกล่าวของพระองค์เป็นที่ประทับใจของพสก ๔๒ พระราชดำ �รัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๑ อ้างถึงใน มาโนชญ์ บุญญานุวัตร, เรื่องเดิม, หน้า ๕๔. ๔๓ คณะกรรมการอำ �นวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดสงขลา. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว, ๒๕๔๕), หน้า ๓๓๑.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=