รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 28 พระมหากษัตริย์กับประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ในสมัยประชาธิปไตย ๓๘ สัมภาษณ์ ดร.โมฮัมหมัด อับดุลกาเดร์ ผู้อำ �นวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดยะลา วันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ โดย ศ.ปิยนาถ บุนนาค และคุณปิยพัฒน์ บุนนาค (ปัจจุบันคือ ผศ. ดร.ณัฐวีณ์ บุนนาค ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์). ๓๙ ดูรายละเอียดใน มาโนชญ์ บุญญานุวัตร, “ความก้าวหน้าของการศึกษาของชาวไทยมุสลิมในเขตการศึกษา ๒”, หน้า ๔๓-๕๓. ๔๐ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๕๓. ๔๑ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๔๖. นอกจากการจัดการศึกษานอกโรงเรียนโดยเฉพาะการพัฒนาการศึกษาผู้ใหญ่ดังกล่าวแล้ว กระทรวงศึกษาธิการก็ได้เอาใจใส่หาแนวทางแก้ปัญหาการศึกษาในเขตนี้อย่างจริงจังโดยเฉพาะนับ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นต้นมา ทั้งนี้ มุ่งไปในทิศทางที่จะทำ �ให้คนส่วนใหญ่พูดภาษาไทยได้ โดยไม่ ทำ �ให้ภาษามลายูที่ประชาชนส่วนใหญ่ใช้อยู่ถูกทำ �ลายไป หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การช่วยให้ชาวมุสลิม พูดภาษาไทยได้อีกภาษาหนึ่ง เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำ �เนินการ ๖ ประการคือ การเตรียมภาษาไทยก่อนเข้าเรียนประถม ๑ การช่วยเหลือนักเรียน ในชั้นเรียนปรกติ การสอนศาสนาอิสลามในโรงเรียน การจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน การ ปรับปรุงหลักสูตรและหนังสือเรียนให้สอดคล้องกับท้องถิ่นและการปรับปรุงโรงเรียนราษฎร์สอน ศาสนาอิสลาม ๓๙ มีผู้ให้ข้อสังเกตว่าผลจากการที่ได้เริ่มมีการพัฒนาการศึกษาอย่างจริงจังในเขตการศึกษา ๒ มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๓ จนถึงประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๓ ก็สามารถช่วยให้ชาวไทยมุสลิมซึ่งรู้ภาษาไทย เพียงร้อยละ ๓๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ ๘๒ ใน พ.ศ. ๒๕๒๓ โดยที่ “ทำ �ให้สภาพ สังคมได้เปลี่ยนไปในทางที่ดีกว่าเดิมเป็นอันมาก ชาวพุทธกับชาวมุสลิมสามารถสื่อสารติดต่อกันได้ ด้วยความเข้าใจกันมากยิ่งขึ้น” ๔๐ นอกจากนี้ “มุสลิมที่สำ �เร็จการศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ ออกไป ทำ �งานตามหน่วยงานต่าง ๆ ทุกหน่วยงานมีทั้งนักปกครอง ทหาร ตำ �รวจ ครู นักการธนาคาร และ อาชีพอื่น ๆ โดยทั่วไป เทียบกับเมื่อปี ๒๕๐๐ ซึ่งหาข้าราชการมุสลิมแทบไม่ได้เลย นับว่าต่างกัน มาก” ๔๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพอพระราชหฤทัยในการดำ �เนินงานแก้ปัญหาการศึกษา ของเขตการศึกษา ๒ ดังมีพระราชดำ �รัส เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๑ ณ สนามกีฬาจังหวัด นราธิวาสว่า เริ่มโครงการนี้ตั้งแต่ปี ๒๕๐๒ แล้วมาเรื่อย ๆ มาเน้นหนักตอน พ.ศ. ๒๕๑๔…” ๓๘
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=