รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 27 ปิยนาถ บุนนาค “ …การศึกษาที่นี่สำ �คัญมาก ให้พยายามจัดให้ดี ให้พลเมือง สามารถพูดภาษาไทยได้แม้จะพูดได้ไม่มากนัก เพียงแต่พอรู้เรื่องกันก็ ยังดี เพราะเท่าที่ผ่านมาคราวนี้ มีผู้ไม่รู้ภาษาไทยต้องใช้ล่ามแปล ควร ให้พูดเข้าใจกันได้เพื่อสะดวกในการติดต่อซึ่งกันและกัน…” ๓๖ พระราชดำ �รัสดังกล่าวแสดงว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาสำ �คัญใน การปกครองชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งข้อมูลของสำ �นักงานคณะกรรมการศึกษาแห่ง ชาติก็ชี้ให้เห็นว่าปัญหาพื้นฐานของเขตการศึกษา ๒ นี้ คือ การที่คนส่วนใหญ่พูดภาษาไทยไม่ได้ อัน ทำ �ให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาโดยเฉพาะปัญหาการศึกษา ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม ปัญหา การเมืองและการปกครอง ส่งผลให้สถานการณ์ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ตกอยู่ในภาวะลำ �บาก ที่สำ �คัญคือข้าราชการไม่อาจติดต่อกับประชาชนได้โดยสะดวกเนื่องจากพูดกันไม่เข้าใจ ก็ทำ �ให้เกิด ช่องว่างระหว่างข้าราชการกับประชาชน มีการแบ่งพวกเป็นไทยพุทธ ไทยมุสลิม ผลที่ตามมาคือการ ขาดความเป็นเอกภาพในชาติ พวกขบวนการต่าง ๆ โดยเฉพาะขบวนการแบ่งแยกดินแดน ผู้ก่อการ ร้ายโจรคอมมิวนิสต์ก็ถือโอกาสเข้ามาปลุกปั่นให้หลงเชื่อไปในทางที่เป็นภัยต่อบ้านเมืองได้โดยง่าย ๓๗ พระราชดำ �ริดังที่ให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องดำ �เนินการแก้ไขปัญหาการศึกษาในเขตการศึกษา ๒ นับว่ามีส่วนสำ �คัญที่ทำ �ให้รัฐบาลรีบดำ �เนินการในเรื่องนี้ ดังจะเห็นได้ว่าเริ่มมีการพัฒนาการ ศึกษาของผู้ใหญ่ใน พ.ศ. ๒๕๐๒ นั่นเอง ดร.โมฮัมหมัด อับดุลกาเดร์ ผู้อำ �นวยการศูนย์การศึกษา นอกโรงเรียน จังหวัดยะลา ซึ่งรับผิดชอบในเรื่องการจัดการศึกษาผู้ใหญ่ในสมัยนั้นกล่าวไว้ในการ สัมภาษณ์ตอนหนึ่งว่า ๓๖ พระราชดำ �รัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ อ้างถึงใน มาโนชย์ บุญญานุวัตร, “ความก้าวหน้าของการ ศึกษาของชาวไทยมุสลิมในเขตการศึกษา ๒”, วารสารการศึกษาแห่งชาติ ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๓ (กุมภาพันธ์-มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๕), หน้า ๓๘. ข้อมูลได้รับการยืนยันจากการสัมภาษณ์คุณพิเชษฐ์ มากช่วย ศึกษาธิการเขตการศึกษา ๒ ณ ที่ทำ �การศึกษาเขต โดยอาจารย์ยุรารัตน์ พันธุ์ยุรา และคุณอภิรดี อิ่มเอิบ. ๓๗ มาโนชญ์ บุญญานุวัตร, “ความก้าวหน้าของการศึกษาของชาวไทยมุสลิมในเขตการศึกษา ๒,” หน้า ๔๒. “ ...ผมเชื่อว่า การพัฒนา พัฒนาเด็กไม่ได้ ต้องพัฒนาผู้ใหญ่ เพราะเด็กอยู่ที่ผู้ใหญ่ ถ้าเราไม่สั่งเขาก็เรียนไม่ได้ หลักสูตรดีไม่ดีก็ ต้องผู้ใหญ่ อะไรก็ผู้ใหญ่ทั้งนั้น ถ้าเด็กจะมาแต่พ่อแม่ไม่ให้เสียอย่าง ก็ไม่ได้ ด้วยความเชื่ออันนี้ผมต้องมาเร่งพัฒนาการศึกษาผู้ใหญ่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=