รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 303 วนิดา ขำ �เขียว แสดงออกซึ่งศักยภาพของความเป็นมนุษย์โดยไม่ต้องอาศัยปัจจัยภายนอกหรือการอ้อนวอนอำ �นาจ เหนือธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นการแสดงออกซึ่งความกล้าในการเผชิญหน้ากับปัญหาและอุปสรรค มนุษย์ที่มีเสรีภาพในแบบซาทร์จึงเป็นผู้ที่เลือกวิถีชีวิตของตนโดยไม่เป็นทาสของกฎเกณฑ์และสังคม อีกทั้งไม่ปล่อยตนให้วัตถุเข้ามามีอำ �นาจในการกำ �หนดวิถีชีวิต เพราะมนุษย์จะมีโอกาสน้อยมากใน การตัดสินใจได้อย่างเสรี ถ้าเขายอมให้ผู้อื่นหรือสิ่งอื่นเข้ามาบงการชีวิตจะทำ �ให้เขาสูญเสียเสรีภาพ อันเป็นสิ่งสำ �คัญยิ่งสำ �หรับการเป็นมนุษย์ การที่มนุษย์ส่วนมากปฏิเสธเสรีภาพที่ตนมีนั้น ซาทร์คิดว่า เป็นเพราะพวกเขาไม่ต้องการรับผิดชอบต่อการตัดสินใจใด ๆ และไม่ต้องการเสี่ยงที่จะรับผลของ การกระทำ �นั้น ๆ ดังนั้น พวกเขาจึงยอมยึดถือหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ตายตัวเพื่อโยนความรับผิดชอบ ให้แก่หลักเกณฑ์เหล่านั้นโดยตนเองไม่ต้องรับผิดชอบเลย อันเป็นเรื่องที่ทำ �กันมากในสังคมมนุษย์ แต่ผลที่เกิดขึ้นคือมนุษย์ได้ตกอยู่ในสภาพที่เหมือนกับวัตถุ ซึ่งถูกโยนไปในทิศทางต่าง ๆ ทำ �ให้เกิด ความทุกข์และสูญเสียศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มนุษย์ที่แท้ในทัศนะของซาทร์ต้องเลือกวิถีชีวิต ของตนเองและรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้น ซึ่งทำ �ให้เสรีภาพในทัศนะของซาทร์มีความแตกต่างไปจาก เสรีภาพในความหมายทั่วไป เพราะมิได้มีความหมายในแง่การทำ �ตามใจปรารถนาเท่านั้น หากแต่ ความหมายยังลงลึกไปถึงการมีความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเลือก ดังนั้นการใช้เสรีภาพในการเลือก ตัดสินใจจึงต้องใช้ปัญญาของตนพิจารณาอย่างรอบคอบและมีสติในการตัดสินใจเลือกสิ่งที่จะไม่ ทำ �ให้ตนเองต้องสูญเสียเสรีภาพพร้อมทั้งมีความรับผิดชอบต่อผลของการตัดสินใจนั้น การที่ซาทร์ให้ ความสำ �คัญต่อเสรีภาพในระดับปัจเจกชนนี้ มิได้หมายความว่าซาทร์ละเลยต่อปัญหาทางสังคมและ ต่อโลก เพราะเสรีภาพของซาทร์เป็นเสรีภาพที่มาพร้อมกับความรับผิดชอบ ถึงแม้ว่าจะเป็นการรับ ผิดชอบในเรื่องของตนเองก็ตาม แต่เนื่องจากว่าเสรีภาพเป็นเงื่อนไขแรกแห่งการกระทำ �ต่าง ๆ ซึ่ง มีผลต่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจในการดำ �เนินชีวิต จึงย่อมมีผลกระทบต่อเสรีภาพของผู้อื่น ดังนั้น การที่ซาทร์ปลุกเร้าให้มนุษย์ตระหนักว่าตนเองมีเสรีภาพและใช้เสรีภาพให้ถูกต้องนั้น เรา อาจกล่าวได้ว่า ซาทร์ต้องการให้มนุษย์เกิดสติและมีความระมัดระวังต่อการเลือกที่ไม่ทำ �ให้ตนเอง เป็นทาสต่อสิ่งต่างๆตลอดจนมีสัมปชัญญะที่ไม่ทำ �ตนเป็นเจ้าของหรือบงการผู้อื่นเพราะมนุษย์แต่ละคนมี เจตจำ �นงเป็นของตนเองและมีเสรีภาพในการเลือกตัดสินใจที่จะกำ �หนดชีวิตของตน พร้อมทั้งยอมรับ ผลที่ตามมา ถ้ามนุษย์แต่ละคนมีความตระหนักได้เช่นนี้ สังคมย่อมประกอบไปด้วยมนุษย์ที่มีความ รับผิดชอบ เราอาจกล่าวได้ว่าสังคมที่ดีในทัศนะของซาทร์จึงน่าจะเป็นสังคมที่ยอมรับความหลาก หลายของมนุษย์และเปิดโอกาสให้มนุษย์ทุกคนมีความเป็นตัวของตัวเอง แต่ไม่ทำ �ลายเสรีภาพของ ผู้อื่น เสรีภาพของซาทร์จึงมีลักษณะเปิดกว้างให้ทุกคนมีการตัดสินใจและสร้างวิถีทางในการดำ �เนิน ชีวิตด้วยตนเอง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=