รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 302 มนุษย์บนเส้นทางสู่เสรีภาพของซาทร์ ทั้งชีวิตจึงเหนื่อยเปล่า แต่กระนั้นมนุษย์ควรยอมรับความจริงนี้และเผชิญหน้าด้วยความกล้าหาญ พร้อมทั้งตัดสินใจเลือกกระทำ �สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง เสรีภาพในทัศนะของซาทร์จึงส่งเสริมความเชื่อ มั่นและกระตุ้นให้มนุษย์ใช้ปัญญาอย่างมีสติในการตัดสินใจเลือกที่จะกระทำ � และตระหนักถึงความ สามารถของตนเอง เมื่อมนุษย์เลือกกระทำ �สิ่งใดไปแล้ว เขาต้องยินดีรับผิดชอบต่อผลกระทบที่จะเกิด ขึ้นทั้งต่อตนเอง ผู้อื่น และโลก การใช้ปัญญาพิจารณาความเหมาะสมของการกระทำ �ในแต่ละครั้งจึง เป็นเรื่องสำ �คัญ การใช้เสรีภาพในแบบของซาทร์ให้ความสำ �คัญในเรื่องความระมัดระวังและไม่เป็นไป ในลักษณะที่เห็นแก่ตัว ในแบบที่เราต้องไม่ทำ �ให้ตนเองและผู้อื่นสูญเสียเสรีภาพเช่นเดียวกัน ๒๓ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนี้จะเห็นได้ว่าแนวคิดในเรื่องเสรีภาพของซาทร์มีหลักการที่สามารถ นำ �มาใช้ได้กับชีวิตในสังคมปัจจุบันซึ่งจะช่วยให้เราเกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องในเรื่องเสรีภาพกับ การอยู่ร่วมกันในสังคม ถึงแม้ว่าเสรีภาพของซาทร์จะให้ความสำ �คัญแก่ปัจเจกชน และไม่ใคร่ให้ ความสำ �คัญต่อปัญหาของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่มิใช่ว่าท่านจะละเลยในเรื่องเหล่านี้ ทั้งนี้ เพราะซาทร์เชื่อว่ามนุษย์คือผู้กำ �หนดชะตาชีวิตของตนเอง การตัดสินใจเลือกของมนุษย์จึงเป็นเรื่อง สำ �คัญ และการเลือกในแต่ละครั้งของมนุษย์ พวกเขาต้องคำ �นึงว่าเขามิได้เลือกเพื่อตนเองเท่านั้น แต่ เลือกให้บุคคลอื่นๆด้วยการเลือกของมนุษย์จึงแฝงด้วยความรับผิดชอบต่อผลที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง บทสรุป จากการศึกษาทัศนะของซาทร์ในเรื่องเสรีภาพ เราจะเห็นได้ว่าแนวคิดของซาทร์นั้นไม่ได้สร้าง ความหวังและความอบอุ่นให้แก่มนุษย์เหมือนศาสนาต่าง ๆ ที่มีเป้าหมายชัดเจนและมีแนวปฏิบัติที่ ตายตัว แต่สิ่งที่ได้รับจากแนวคิดในเรื่องเสรีภาพของซาทร์คือความเหงาและความรู้สึกโดดเดี่ยว ซึ่ง เป็นสิ่งที่ไม่น่าพึงปรารถนาของคนส่วนมาก อีกทั้งการแสดงออกซึ่งความรักของคนทั่วไปที่นำ �ไปสู่ การอยู่ร่วมกันนั้น ซาทร์คิดว่าความรักแบบนี้จะทำ �ให้เกิดการทำ �ลายเสรีภาพและเป็นการล่วงล้ำ � เข้าไปในเสรีภาพของผู้อื่น แนวคิดเช่นนี้เป็นเรื่องที่ไม่น่ายินดีนักสำ �หรับสังคมที่ต้องการมาตรฐานทาง ศีลธรรม แนวคิดของซาทร์จึงเสื่อมไปและเป็นจุดที่ทำ �ให้เกิดนักคิดหลังนวยุคที่พัฒนาแนวคิดในเรื่อง เสรีภาพขึ้นมาและปรับใช้มาจนกระทั่งทุกวันนี้ แต่กระนั้นแนวคิดของซาทร์นี้ยังมีจุดเด่นที่น่าสนใจ และเราสามารถนำ �มาใช้สำ �หรับการดำ �เนินชีวิตในสังคมปัจจุบันคือ การให้ความสำ �คัญแก่มนุษย์ และการส่งเสริมมนุษย์ในการมองตนเอง รู้จักตนเอง เข้าใจตนเอง และแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดย ตระหนักถึงเสรีภาพที่มนุษย์มีมาตั้งแต่เกิดซึ่งซาทร์เน้นถึงเสรีภาพในการตัดสินใจเลือกมากกว่า รูปแบบอื่น ๆ มนุษย์ในทัศนะของซาทร์จึงมีอิสรเสรีที่จะเลือกสารัตถะให้แก่ตนเอง อันเป็นการ ๒๓ Ibid . pp. 463–507.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=