รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 301 วนิดา ขำ �เขียว แม้ว่าได้เคยเป็นแนวคิดที่ใช้แก้ปัญหามาแล้วในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ แต่ยังไม่ล้าสมัยที่จะนำ � มาใช้ได้อีกกับชีวิตในสังคมปัจจุบันนี้ที่ให้ความสำ �คัญในเรื่องเสรีภาพ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ยังมีบางคนที่เข้าใจความหมายของเสรีภาพไปในทำ �นองที่ว่า การ ทำ �อะไรก็ได้ตามใจปรารถนาโดยไม่ต้องคำ �นึงถึงความรับผิดชอบที่ตามมา ซึ่งความเข้าใจแบบนี้ทำ �ให้ มนุษย์ตกเป็นทาสของวัตถุได้ง่ายและไม่สามารถถอนตนออกมาจากความหลงใหลในวัตถุเหล่านั้น เราจะเห็นได้ว่ามนุษย์ในปัจจุบันนี้ส่วนมากแล้วถูกควบคุมโดยระบบของวัตถุที่ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่ง มีกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เข้ามามีอิทธิพลเหนือชีวิต จึงทำ �ให้ความมีอิสระในการตัดสินใจเลือกของพวก เขาน้อยลงไปทุกที การมีชีวิตในปัจจุบันจึงเต็มไปด้วยความเร่งรีบและการแข่งขันกัน ซึ่งนับวันยิ่ง ทวีความรุนแรงมากขึ้น ภาพของคนที่ทำ �งานหนักและการทำ �ร้ายกันเองหรือการทำ �ลายสิ่งแวดล้อม เพื่อนำ �เงินที่ได้ไปซื้อสิ่งต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ตนดูดีในสังคม ภาพเหล่านี้มีปรากฏให้เห็นโดยทั่วไป หรือ การที่พยายามทำ �ตนเองแปลก ๆ หรือการค้นหาสิ่งแปลกใหม่เพื่อจะได้เป็นคนทันสมัย จึงทำ �ให้ เกิดการประดิษฐ์สิ่งใหม่หรือแสวงหาของแปลกมาอวดกัน เช่น โทรศัพท์มือถือแบบต่าง ๆ โทรทัศน์ วิทยุ ภาพยนตร์ และคอมพิวเตอร์ วัตถุเหล่านี้มีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอทำ �ให้เกิดรุ่นใหม่ ๆ ถ้าใคร ที่จับกระแสความก้าวหน้าของวัตถุเหล่านี้ไม่ทันจะกลายเป็นคนตกกระแสและตามกระแสความเป็น สมัยใหม่ไม่ทันซึ่งอาจกลายเป็นคนล้าหลัง ชีวิตในสังคมปัจจุบันจึงมีลักษณะเร่งรีบ เร่าร้อน และ เคร่งเครียด หาความสงบเย็นได้ยาก ใครที่ไม่มีอะไรที่คนอื่นมีก็จะต้องพยายามมีให้เหมือนกับคน อื่น ๆ วัตถุที่มนุษย์สร้างได้กลายมาเป็นนายบังคับชีวิต ทำ �ให้มนุษย์เกิดความรู้สึกขัดแย้ง เกิดความ กังวลและเกิดความเบื่อหน่ายชีวิต ปัญหาต่าง ๆ ทางสังคมจึงเกิดขึ้นมามากมาย แนวคิดเรื่องเสรีภาพของซาทร์จะทำ �ให้เราเกิดความเข้าใจในเรื่องเสรีภาพว่าเป็นส่วนหนึ่ง ของธรรมชาติมนุษย์ที่มีมาพร้อมกับมนุษย์ตั้งแต่เกิด โดยที่ธรรมชาติมนุษย์นั้นมีความเป็นอิสระและ ไม่เป็นทาสของวัตถุหรือสิ่งอื่นใด แต่วัตถุต่างหากที่เป็นสิ่งสร้างของมนุษย์ มนุษย์ในทัศนะของซาทร์ สามารถกระทำ �อะไรต่าง ๆ ได้อย่างมีอิสรภาพ โดยไม่ต้องไปกังวลกับเรื่องของอดีต ปัจจุบัน และ อนาคต รวมไปถึงบุคคลอื่น ๆ สิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ทั้งหมดนี้ไม่สามารถมีอำ �นาจที่จะกำ �หนด ตัวมนุษย์ ซาทร์ได้กระตุ้นให้ทุกคนได้สำ �นึกว่าตนเองคือผู้กำ �หนดชะตาชีวิตของตนเอง ๒๒ แนวคิดของ ซาทร์จึงมีส่วนช่วยให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อันเป็นการสร้างแรง บันดาลใจให้กล้าเผชิญหน้ากับปัญหาและอุปสรรค และยอมรับผลที่จะเกิดขึ้นมาในภายหลัง อย่างไรก็ตาม ซาทร์ได้กล่าวถึงมนุษย์ว่าเป็นสิ่งไร้สาระ มนุษย์จึงต้องสร้างสาระให้แก่ตนเอง แต่สาระนั้นไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงไม่มีวันที่จะสมบูรณ์ได้อย่างเต็มที่ ชีวิตของมนุษย์ ๒๒ Ibid . p. 505.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=