รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 300 มนุษย์บนเส้นทางสู่เสรีภาพของซาทร์ อย่างไรก็ตาม ความรับผิดชอบย่อมตามมาด้วยความกระวนกระวายใจและความกลัว ทำ �ให้ มนุษย์ส่วนมากยอมทิ้งเสรีภาพ ซึ่งซาทร์ถือว่าการกระทำ �เช่นนี้เป็นการลดศักดิ์ศรีของความเป็น มนุษย์ถ้ามนุษย์แต่ละคนใช้เสรีภาพและมีความรับผิดชอบแล้วจะไม่กระทบกระเทือนถึงบุคคลอื่น และสิ่งอื่นเลย เพราะเขาย่อมรู้จักขอบเขตของตนในการปฏิบัติต่อบุคคลอื่น ๑๙ ๓. เสรีภาพในทัศนะของซาทร์ยังคงนำ �มาใช้ได้กับชีวิตในสังคมปัจจุบันหรือไม่ ความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีผลทำ �ให้เกิดความสะดวกสบายในทุก ๆ ด้านมากกว่าแต่ก่อน สังคมมีความร่ำ �รวยมากขึ้น แต่กระนั้นปัญหาทางสังคมกลับมีมากและซับซ้อน ทำ �ให้มนุษย์ในปัจจุบันนี้ต้องเผชิญหน้ากับผลกระทบของภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว พฤติกรรมของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ การเจริญเติบโตทางโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี ค่านิยมแบบวัตถุนิยมล้วนส่งผลต่อความเป็นอยู่ของสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อต้องเผชิญหน้ากับ ปัญหาวิกฤตที่เกิดขึ้น ประชากรบางส่วนไม่สามารถปรับตัวและไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เข้ามาได้ จึง เกิดปัญหาทั้งในด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดปัญหาที่เกี่ยวกับความเครียด ภาวะ ซึมเศร้า และการฆ่าตัวตาย ๒๐ ประเทศที่เจริญแล้วส่วนมากเป็นประเทศที่มีปัญหาทางด้านจิตใจเพราะมนุษย์ในสังคมส่วน มากมีจิตใจเร่าร้อน มีความกระวนกระวาย มีความกลัดกลุ้มง่าย มีความเครียดสูง มีความเหงาและ ความว้าเหว่ เราจะเห็นได้ว่าจำ �นวนคนมากขึ้นแต่ผู้คนในสังคมส่วนมากกลับรู้สึกโดดเดี่ยว มีความ รู้สึกแปลกแยก เป็นโรคจิตหรือโรคประสาทมากขึ้น จิตใจมีความเปราะบาง และเกิดความรู้สึกว่าชีวิต ไม่มีความหมาย จึงเกิดการฆ่าตัวตายมากขึ้น ๒๑ เราอาจกล่าวได้ว่า ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำ �ให้มนุษย์รักความ สะดวกสบายและหลงใหลในสิ่งประดิษฐ์แปลกใหม่ที่คิดค้นกันขึ้นมา จึงเกิดการแสวงหาวัตถุมากขึ้น และกระทำ �ทุกอย่างไม่ว่างานนั้นจะหนักมากเพียงใดหรือมีการแข่งขันกับผู้อื่นอย่างรุนแรงแค่ไหน ซึ่ง ทำ �ให้มนุษย์ต้องทำ �ตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ผู้อื่นเป็นผู้ตัดสิน จนทำ �ให้เกิดการสูญเสียเสรีภาพที่มีอยู่ เพื่อเดินตามกระแสความคิดที่มีผู้อื่นคอยชี้นำ � ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ตนปรารถนา เราจะเห็นได้ ว่ามนุษย์ในปัจจุบันนี้ส่วนมากแล้วได้กลายเป็นชีวิตที่ขาดเสรีภาพในการคิดและตัดสินใจ อีกทั้งยัง ตกเป็นทาสของวัตถุได้ง่าย ซึ่งทำ �ให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา แนวคิดของซาทร์ในเรื่องเสรีภาพนี้ถึง ๑๙ Ibid . pp. 574–577. ๒๐ อนุพงศ์ คำ �มา. “ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายสำ �เร็จ : กรณีศึกษาจังหวัดสุโขทัย.” วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. (มกราคม-มีนาคม, ๒๕๕๖), ๕๘(๑): ๕. ๒๑ พระธรรมปิฎก. (ป.อ.ปยุตฺโต). การพัฒนาที่ยั่งยืน . ๒๕๕๒, หน้า ๓๔.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=