รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 299 วนิดา ขำ �เขียว อย่างไรก็ตาม ในตอนท้ายของบทละครนี้ ประตูนรกได้เปิดออก แต่คนทั้งสามกลับไม่ยอม ออกไป ทั้ง ๆ ที่พวกเขาปฏิเสธตลอดมาที่จะอยู่ในห้องนรกนี้และพยายามที่จะทุบประตูให้เปิด เมื่อ ประตูเปิดให้พวกเขาได้ออกไป พวกเขากลับปฏิเสธเสรีภาพที่มีและต้องทนทุกข์กับสภาพที่พวกเขา ไม่ปรารถนานั้นตลอดไป บทละครเรื่องนี้ได้สะท้อนให้เราเห็นว่าชีวิตที่เป็นอยู่ในสังคมมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นสมัยของ ซาทร์หรือแม้แต่สมัยนี้ก็ตาม ตราบใดที่มนุษย์ต้องอาศัยคนอื่นเป็นกระจกส่องตัวเขาเองแล้ว ตราบนั้นพวกเขาย่อมเป็นคนอ่อนแอที่ต้องอาศัยการตัดสินของผู้อื่น อันเป็นการมองตนเองโดย ผ่านสายตาของคนที่ต้องการให้ยอมรับคุณค่าที่เขากำ �หนดให้มา บุคคลทั้งสามในบทละครเรื่องนี้ ได้อยู่ในนรกเพราะการเลือกในอดีตของพวกเขาเอง เมื่อมาอยู่ร่วมกัน ต่างคนจึงต่างทรมานกันด้วย คำ �พูดและการกระทำ � และต้องทนอยู่ร่วมกันต่อไป เมื่อใดที่พวกเขาสำ �นึกได้ว่าตนเองมีเสรีภาพและ มีอิสระที่จะเลือกเป็นในสิ่งที่ตนจะเป็น โดยไม่สนใจต่อคุณค่าและกฎเกณฑ์ที่ผู้อื่นกำ �หนด พวกเขา จึงจะพ้นจากนรกซึ่งนรกนั้นคือคนอื่นที่มาพิพากษาตัวเรา การที่เรายอมให้คนอื่นมาตัดสินชีวิตของ เราและการที่เราไปยุ่งกับเรื่องของคนอื่นจึงเป็นการสร้างนรกให้แก่ตนเองและไม่มีความเป็นตัวของ ตัวเองอีกต่อไป การที่จะหลุดพ้นจากการถูกทรมานนี้ได้ต้องเริ่มจากการมองตนเอง ฟังตนเอง เข้าใจ ตนเอง สำ �นึกในเสรีภาพของตนเองและตัดสินใจเลือกชีวิตด้วยตนเองโดยไม่เอาคนอื่นมาตัดสินชีวิต ของตนเพราะไม่มีใครรู้ตัวตนของเราดีไปกว่าตัวเรา เราอาจกล่าวได้ว่าเสรีภาพมีความสำ �คัญต่อมนุษย์และเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำ �หรับมนุษย์กฎเกณฑ์ ต่าง ๆ ทางสังคมไม่มีความหมายอะไรเลยถ้าไม่มีเสรีภาพเป็นพื้นฐาน การที่เราจะเป็นคนดีหรือ เป็นอะไรก็ตามจะต้องมาจากเสรีภาพทางใจที่เราตัดสินใจเลือกที่จะเป็นมิใช่การถูกบังคับหรือถูก ล่อหลอกด้วยวัตถุหรือมีเงื่อนไขให้กระทำ � เสรีภาพในทัศนะของซาทร์เปิดกว้างให้ทุกคนได้ตัดสิน ใจเลือกด้วยตนเองที่จะสร้างวิถีชีวิตและทำ �ให้ทุกคนก้าวไปอยู่เสมอ ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่กระนั้น เสรีภาพของซาทร์มิได้ให้ทำ �อะไรตามใจชอบโดยขาดความรับผิดชอบต่อผลที่ตนเลือกตัดสินใจ เพราะเสรีภาพเป็นสิ่งที่มาพร้อมกับความรับผิดชอบ เสรีภาพของซาทร์จึงมิใช่การตระหนักเฉพาะ ตนเองเท่านั้น แต่ยังคำ �นึงถึงเสรีภาพของผู้อื่นและการรับผิดชอบต่อผลการกระทำ �ของตัวเราซึ่งอาจ กระทบต่อผู้อื่น ซาทร์ไม่ประสงค์ให้มนุษย์ทำ �ลายเสรีภาพต่อกัน ดังนั้น มนุษย์ไม่ควรแสดงความ เป็นเจ้าของบุคคลอื่นเพราะเป็นการทำ �ให้บุคคลอื่นเป็นวัตถุ การให้ความรักผู้อื่นจึงเป็นสิ่งที่ต้องระวัง เพราะอาจนำ �ไปสู่การแสดงอำ �นาจครอบครองหรือแสดงความเป็นเจ้าของ ซึ่งทำ �ให้ต่างฝ่ายไม่มี เสรีภาพ ๑๘ ๑๘ Ibid . pp. 388–399.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=