รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 287 วนิดา ขำ �เขียว เสรีภาพของซาทร์โดยคาดว่าน่าจะมีประโยชน์ได้ในระดับหนึ่งต่อบุคคลและสังคม เพราะซาทร์คิด ว่าเสรีภาพเป็นเงื่อนไขแรกแห่งการกระทำ �ของมนุษย์ และเสรีภาพเป็นสิ่งที่มีผลต่อการแก้ปัญหาและ การตัดสินใจในการดำ �เนินชีวิตของทุก ๆ คน การปลุกเร้าให้มนุษย์ตระหนักถึงตนเองว่ามีเสรีภาพ และใช้เสรีภาพอย่างถูกต้องนั้นจะทำ �ให้เกิดการปลดปล่อยตนเองจากกระแสของสังคมที่ทำ �ให้เกิด ความด้อยทางปัญญาและเกิดความกล้าในการคิดและตัดสินใจด้วยตนเองโดยการใช้เสรีภาพอย่าง ถูกต้องในการเผชิญหน้ากับปัญหาทั้งหลาย และแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ด้วยตนเอง อีกทั้งยังสามารถ ดำ �เนินชีวิตบนเส้นทางเดินของตนอย่างมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ภูมิหลังของชีวิต ฌ็อง-ปอล ซาทร์ เป็นนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๐๕ ชื่อ เต็มคือ ฌ็อง-ปอล ชาร์ล เอมาร์ ซาทร์ (Jean-Paul Charles Aymard Sartre) แต่คนทั่วไปนิยม เรียกสั้น ๆ ว่า “ซาทร์” บิดาของซาทร์ซึ่งทำ �งานราชการในกองทัพเรือฝรั่งเศส มีชื่อว่า ฌ็อง-บัปติสต์ ซาทร์ (Jean-Baptiste Sartre) ส่วนมารดามีชื่อว่า แอน-มารี ชไวเซอร์ (Anne-Marie Schweitzer) เมื่อซาทร์มีอายุ ๑๕ เดือน บิดาเสียชีวิตทำ �ให้มารดาต้องรับภาระเลี้ยงชีวิตตนเองและดูแลซาทร์ มาตลอด โดยได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากคุณตาที่มีส่วนทำ �ให้ซาทร์ได้รับความรู้ในด้านคณิต- ศาสตร์และวรรณกรรมคลาสสิกต่าง ๆ เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น ซาทร์ได้มีโอกาสศึกษาที่เอโกล นอมัล ซูเปรีเออร์ (Ecole Normale Superieure) กรุงปารีส (Paris) ซาทร์สนใจการเรียนรู้ปรัชญาของ อ็องรี ลูย แบร์กซอง (Henri Louis Bergson) ซึ่งมีส่วนทำ �ให้ซาทร์มั่นใจว่าปรัชญาสามารถช่วยให้ มนุษย์เข้าถึงความจริงได้ ๓ ต่อมาใน ค.ศ. ๑๙๓๑ ซาทร์ได้เป็นอาจารย์สอนปรัชญาที่เลออาฟวร์ (Le Havre) และใน ช่วง ค.ศ. ๑๙๓๔-๑๙๓๕ เขาได้ศึกษาแนวคิดของเอ็ดมุนด์ กุสตาฟ อาลเบรชท์ ฮุสเซิร์ล (Edmund Gustav Albrecht Husserl) ซึ่งทำ �ให้เกิดแรงบันดาลใจในการเขียนหนังสือชื่อ The Transcendence of the Ego และเขียนนวนิยายเรื่อง The Nausea ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซาทร์ถูกจับเป็นเชลย ในเยอรมนี จึงเป็นโอกาสสำ �คัญที่ทำ �ให้ได้ศึกษางานของมาร์ทิน ไฮเด็กเกอร์ (Martin Heidegger) ซึ่งมี อิทธิพลต่องานเขียนชิ้นสำ �คัญคือ Being and Nothingness และ Critique of the Dialectic Reason นอกจากนี้ ซาทร์ยังให้ความสนใจในแนวคิดของมาร์กซิสม์ (Marxism) แต่มิได้สมัครเป็นสมาชิก ขององค์กรนี้เลย ซาทร์ได้ศึกษาแนวคิดของนักปรัชญาตะวันตกคนอื่น ๆ อีก เช่น อิมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant) และเกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกล (Georg Wilhelm Friedrich ๓ Samuel Enoch Stumpf; James Fieser. Philosophy: History and Problems . 2008, p. 432.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=