รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 283 พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ ในปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๖) จีนนี คิม (Jeannie Kim) นักจิตวิทยาครอบครัวได้ให้แนวคิดเกี่ยว กับตัวชี้วัดความสุขในครอบครัว ดังนี้ ๑. รู้จักคนในครอบครัว (know who they are in the family) รู้ความถนัดและความ สามารถของสมาชิกในครอบครัว และให้สมาชิกในครอบครัวมีส่วนร่วมในการวางแผนครอบครัวตาม ศักยภาพของแต่ละบุคคลในเรื่องต่าง ๆ ของครอบครัว เช่น การประกอบอาชีพของครอบครัว การ พักผ่อนของครอบครัว งานอดิเรกที่สามารถทำ �ร่วมกัน ๒. พึ่งพาซึ่งกันและกันได้ (lean on others) ครอบครัวต้องมีความใกล้ชิดกัน และอาจดู แบบการแก้ปัญหาจากครอบครัวอื่นที่เคยเผชิญปัญหาลักษณะเดียวกันมาแล้ว เรียนรู้ และแก้ปัญหา ครอบครัวร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ เช่น สมาคมครู ผู้ปกครอง หรือกลุ่มทางสังคมอื่น ๆ ๓. ลุกขึ้นยืนใหม่ได้ (bounce back) ทุกครอบครัวต้องเผชิญปัญหาแต่ต้องสามารถผ่านพ้น จุดยากลำ �บากของปัญหาฟื้นคืนใหม่ (resiliency) หลังจากเผชิญปัญหาได้ ๔. ให้ลมหายใจต่อกัน (breathe) ให้เวลาแก่ครอบครัว ทำ �กิจกรรมร่วมกัน สนุกสนานร่วม กัน เช่น เดินเล่นด้วยกัน ทำ �อาหารร่วมกัน เล่นกีฬาด้วยกัน องค์ประกอบเหล่านี้จะทำ �ให้ครอบครัวอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ตัวชี้วัดการมีครอบครัว ที่เป็นสุขนั้น ครอบครัวต้องปฏิบัติหน้าที่ได้ถูกต้องสมบูรณ์ทั้ง ๗ ประการ ครอบครัวที่เป็นสุขนั้นต้อง มีความสัมพันธ์ดีระหว่าง “หัวใจหลัก” ของครอบครัวที่เป็นสุข คือ ความรักในครอบครัว ความรักความผูกพันนำ �มาซึ่งความสุข เพราะเป็นพลังใจให้สมาชิกใน ครอบครัวทำ �หน้าที่ของตนอย่างเต็มใจ โดยเฉพาะการอบรมเลี้ยงดูเด็กในครอบครัว การศึกษาสำ �หรับครอบครัว (Family Life Education) เป็นการศึกษาที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ ความจำ �เป็นในการดำ �รงชีวิตอยู่ร่วมกันในครอบครัว องค์การต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา เช่น The National Council on Family Relations, The American Social Health Association ได้ ทำ �การศึกษาเกี่ยวกับครอบครัวและเยาวชน และการศึกษาสำ �หรับครอบครัวได้มีการสอนครั้งแรกใน ระดับมหาวิทยาลัยที่วิทยาลัยบอสตัน (Boston College) ใน ค.ศ. ๑๙๒๐ และพัฒนาขยายไปทั่ว สหรัฐอเมริกา ใน ค.ศ. ๑๙๗๑ จุดประสงค์ของการให้การศึกษาของจิตวิทยาครอบครัวคือ การให้ความรู้ สนับสนุนให้บุคคล มีภูมิคุ้มกันที่สร้างและพัฒนาครอบครัวที่เป็นสุขและมีคุณค่าในสังคม เพราะครอบครัวเป็นสถาบัน ทางสังคม เป็นหน่วยแรกของบุคคลที่ต้องถ่ายทอดค่านิยม ความเชื่อ และเจตคติต่อเยาวชนของชาติ การมีครอบครัวที่มีภูมิคุ้มกันให้เยาวชนและสมาชิกเป็นสุขจะนำ �ไปสู่ประเทศชาติที่มั่นคงและสงบสุข

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=