รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 282 จิตวิทยาครอบครัว ๔. การพึ่งพาตนเอง หมายถึง ความสามารถของครอบครัวที่จะพัฒนาในสังคมที่ เปลี่ยนแปลง รักษาสัมพันธภาพที่ดี ช่วยสมาชิกทั้งหญิงและชายปรับตัวในกระแสสังคม ๕. การเกื้อกูลสังคมอย่างมีคุณธรรม หมายถึง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมสร้างสรรค์ และช่วย เหลือสังคม ไม่ก่อความเดือดร้อนหรือสร้างปัญหาสังคม นอกจากนี้คณะวิจัยได้นำ �เสนอตัวชี้วัดครอบครัวอยู่ดีมีสุขไว้ ๒๒ ตัวชี้วัด คือ ๑. มีสมาชิกครบสมบูรณ์ตามวงจรชีวิตของครอบครัว ๒. สมาชิกตั้งใจสร้างและพัฒนาครอบครัวร่วมกัน ๓. จำ �นวนสมาชิกทำ �หน้าที่หารายได้เหมาะสมกับขนาดของครอบครัว ๔. มีผู้ทำ �มาหาเลี้ยงครอบครัว ๕. สมาชิกดูแล เอาใจใส่ช่วยเหลือ สนับสนุน ซึ่งกันและกัน ๖. ครอบครัวอบรมสั่งสอนให้เป็นคนดี ๗. เอื้อการเรียนรู้ พัฒนาทักษะการดำ �รงชีวิต ๘. ปลูกฝังและถ่ายทอดคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมและประเพณี ๙. แสดงความรักนับถือซึ่งกันและกัน เอื้ออาทรต่อกัน ๑๐. มีการทำ �กิจกรรมที่สร้างสรรค์ร่วมกัน ๑๑. ตัดสินเรื่องสำ �คัญด้วยกัน ๑๒. อยู่ร่วมกันอย่างสุขสงบ ๑๓. พึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ ๑๔. มีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง ๑๕. สมาชิกร่วมกันแบ่งเบาภาระงานบ้าน ๑๖. ช่วยดูแลสุขภาพซึ่งกันและกัน ๑๗. รับผิดชอบป้องกันอุบัติเหตุ ๑๘. ไม่ติดสารเสพติด บุหรี่ สุรา ๑๙. สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ ๒๐. สามารถเข้าถึงบริการทางสังคม ๒๑. เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อส่วนรวมและสาธารณประโยชน์ ๒๒. สมาชิกไม่มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=