รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 21 ปิยนาถ บุนนาค งานราชการ ประชาชน องค์กรเอกชน ให้ร่วมกันปฏิบัติงานเพื่อสนองพระราชปณิธานของพระองค์ พระตำ �หนักทักษิณราชนิเวศน์จึงเป็นศูนย์รวมแห่งความศรัทธาและความสามัคคีของบรรดา ข้าราชการทุกหมู่เหล่าและพสกนิกร ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ พระราชดำ �ริที่สำ �คัญต่อการแก้ไข ปัญหาความยากจน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน งานด้านการพัฒนาแก้ไขปัญหา เรื่องน้ำ �เพื่อการเพาะปลูกและบริโภคอุปโภคให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ โดยมีสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ได้ร่วมกันปฏิบัติพระราชกรณียกิจใน สาขาต่าง ๆ เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยเหตุนี้ ภาพที่พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์นี้เสด็จฯ เคียงข้างด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชโอรสและพระราชธิดาประทับท่ามกลางประชาชนและมีพระราชดำ �รัส ซักถามถึงปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรในตำ �บลต่าง ๆ ของจังหวัดปัตตานี ด้วยความสนพระ ราชหฤทัยและเปี่ยมด้วยพระเมตตา จึงสอดคล้องกับพระราชดำ �รัสตอนหนึ่งของสมเด็จพระนาง เจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ว่า “...พระเจ้าอยู่หัวและข้าพเจ้าไม่พึงพอใจกับการที่เพียงแต่เยี่ยมเยียน ราษฎรหรือเพียงแต่ทำ �สิ่งที่เคยทำ �กันเป็นประเพณีเราต้องพยายามทำ �ดีกว่านั้น เราต้องพยายาม ช่วยรัฐบาลส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น...หากเราไม่สามารถมีส่วนร่วมในการบรรเทา ความทุกข์ยากของประชาชนแล้วเราก็ต้องถือว่า การเป็นประมุขของประเทศประสบความล้ม เหลว...” ๓๔ เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีพระราชดำ �ริความว่า “ให้ส่วนราชการต่าง ๆ ศึกษาและพัฒนาพื้นที่พรุร่วมกันแบบผสมผสาน” คณะกรรมการพิเศษเพื่อ ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ �ริ มีมติให้จัดตั้ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำ �ริ ขึ้นที่จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๕ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นสถานที่ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย เพื่อพัฒนาดินเปรี้ยวและดินพรุ ซึ่งเป็น ดินที่มีปัญหาให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้ โดยให้หน่วยงาน ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้ามาดำ �เนินการ ศึกษาและพัฒนาพื้นที่พรุแบบผสมผสาน เน้นการทำ �งานร่วมกันแบบบูรณาการ เพื่อนำ �ผลสำ �เร็จ ของโครงการไปเป็นแบบอย่างในการพัฒนาพื้นที่อื่นต่อไป ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ มีพระราชดำ �ริเกี่ยวกับการพัฒนาฯ เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๖ บางตอนความว่า “ศูนย์ ศึกษานี้เป็นคล้าย ๆ พิพิธภัณฑ์ใหญ่ที่มีชีวิต ที่ใครจะมาดูว่าทำ �อะไรกัน...” ๓๔ คณะกรรมการอำ �นวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดปัตตานี. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว, ๒๕๔๓), หน้า ๒๔๑.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=