รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 248 ความเหลื่อมล้ำ �และผลกระทบทางสังคม (๓) สุขภาพและปัญหาสังคมอื่น ๆ ผลกระทบของความเหลื่อมล้ำ �ต่อสุขภาพของคนในสังคมไม่ค่อยมีการศึกษามากนัก จน กระทั่งเมื่อ ค.ศ. ๒๐๐๙ วิลคินสันและพิกเคตต์ได้เผยแพร่ผลการศึกษาในหนังสือ The Spirit Level ซึ่งเสนอแนวคิดว่าสุขภาพของคนและความผาสุกของสังคม ขึ้นอยู่กับความเท่าเทียมในสังคม ข้อเสนอดังกล่าวนี้ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลประมาณ ๒๐๐ ชุด ของประเทศที่ร่ำ �รวยทางเศรษฐกิจ กว่า ๒๐ ประเทศ ข้อมูลเหล่านี้ถูกรวบรวมทั้งโดยนักวิจัยอิสระและโดยหน่วยงานที่ได้รับความ เชื่อถือระดับนานาชาติ เช่น องค์การสหประชาชาติ องค์การอนามัยโลก ธนาคารโลก และสำ �นัก สำ �มะโนประชากรสหรัฐอเมริกา เหตุที่ใช้เฉพาะข้อมูลของประเทศที่ร่ำ �รวยเศรษฐกิจเพราะข้อมูลใน ประเทศเหล่านี้มีความถูกต้องสมบูรณ์ ซึ่งทำ �ให้ผลการวิเคราะห์น่าเชื่อถือได้มากกว่า ในการวิเคราะห์ ผู้ศึกษาได้สร้างดัชนีสุขภาพและปัญหาของสังคมจากตัวชี้วัดสำ �คัญ ๆ หลาย ตัว ได้แก่ อายุคาดเฉลี่ยของคนในสังคม อัตราการตายของทารก อัตราการฆาตกรรม ร้อยละของวัย รุ่นหญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม อัตราคนที่เป็นโรคอ้วน ความเจ็บป่วยทางจิตประเภทต่าง ๆ การใช้ สารเสพติด การใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การถูกจองจำ � และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็ก (โดย เฉพาะในด้านคณิตศาสตร์และด้านการอ่าน) ผลการวิเคราะห์ในภาพรวมชี้ให้เห็นว่า ระดับปัญหาสุขภาพและปัญหาอื่น ๆ ที่มีผลต่อความ ผาสุกของคนในสังคม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเหลื่อมล้ำ � กล่าวคือ ยิ่งระดับความเหลื่อมล้ำ �สูง ขึ้น ระดับความรุนแรงของปัญหาก็สูงขึ้นตามไปด้วย ที่สำ �คัญคือความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้ไม่ได้เกิดโดย บังเอิญ แต่เป็นความสัมพันธ์ที่มีนัยสำ �คัญทางสถิติ กล่าวคือในประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำ �ต่ำ � ดัชนี ปัญหาทางสุขภาพและปัญหาอื่น ๆ ที่กระทบความผาสุกของคนในสังคมก็ต่ำ � (ซึ่งหมายความว่าดี) ขณะที่ในประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำ �สูง ปัญหาทางสุขภาพและปัญหาอื่น ๆ ที่กระทบความผาสุกของ คนในสังคมก็สูง (ซึ่งหมายความว่าไม่ดี) ดังแสดงในภาพที่ ๒ จากข้อมูลในภาพที่ ๒ จะเห็นว่า ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาที่มีระดับความเหลื่อมล้ำ �ต่างกัน มากนั้น อยู่ในตำ �แหน่งต่างกันคนละขั้ว ญี่ปุ่นซึ่งมีความเหลื่อมล้ำ �ในระดับต่ำ �สุด (ตามแกนแนวนอน) นั้น มีดัชนีปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคม (ตามแกนแนวตั้ง) ในระดับต่ำ �สุด (คือดีที่สุด) ตรงข้ามกับ สหรัฐอเมริกาซึ่งมีความเหลื่อมล้ำ �ในระดับสูงสุด มีดัชนีปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมที่สูงสุด (คือ แย่ที่สุด) เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ นอกจากญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาแล้ว ประเทศที่เหลือก็ มีดัชนีบอกระดับปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมมาก-น้อยแตกต่างกันไปตามระดับความเหลื่อมล้ำ �ใน สังคมของตน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=