รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 247 ชาย โพธิสิตา การโดยเครือข่ายข้อมูลอาชญากรรมและความยุติธรรมของสหประชาชาติ (ค.ศ. ๒๐๐๐) มาวิเคราะห์ เพื่อจะดูว่าในประเทศที่ความเหลื่อมล้ำ �สูง อาชญากรรมรุนแรงจะสูงด้วยหรือไม่ ผลปรากฏว่า ใน ประเทศที่ร่ำ �รวย ๒๐ กว่าประเทศที่มีข้อมูลและถูกนำ �มาเปรียบเทียบกันในเรื่องนี้ อัตราอาชญากรรม รุนแรงจะสูงมากกว่าในประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำ �อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความเหลื่อมล้ำ �ทางรายได้สูงที่สุดนั้น มีอัตราฆาตกรรมสูงมากกว่าประเทศอื่น ๆ ทั้งหมด คือ มากกว่า ๖๐ คนต่อประชากร ๑ ล้านคน ตรงกันข้ามกับประเทศญี่ปุ่นที่มีความเหลื่อมล้ำ �น้อยที่สุดใน บรรดาประเทศที่ร่ำ �รวย แต่มีอัตราการฆาตกรรมประมาณ ๕ รายต่อประชากร ๑ ล้านคน (ต่างกันถึง ๑๒ เท่า) นอกจากนี้ ในสหรัฐอเมริกา รัฐที่มีความเหลื่อมล้ำ �ทางรายได้สูงก็มีอัตราฆาตกรรมสูงด้วย ในประชากรวัยเด็กก็เช่นกัน ข้อมูลความรุนแรงที่เด็กในประเทศที่ร่ำ �รวยได้รับก็ยืนยันว่า ในประเทศ ที่มีความเหลื่อมล้ำ �สูง สัดส่วนของเด็กที่ได้รับความรุนแรงก็จะสูงด้วย ประสบการณ์ความรุนแรงในที่ นี้วัดจากจำ �นวนร้อยละของเด็กที่มีการชกต่อย เป็นเหยื่อของการถูกล้อเลียน หรือคิดว่าถูกเพื่อน ๆ ทอดทิ้ง ไม่ช่วยเหลือ (เด็กคือบุคคลที่อายุต่ำ �กว่า ๑๘ ปี ตามนิยามขององค์การยูนิเซฟ) ยิ่งกว่านั้น ความเหลื่อมล้ำ �ในสังคมยังมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมไม่พึงปรารถนา บางอย่างของเยาวชนด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ยาเสพติด และการตั้งครรภ์ของเด็กวัยรุ่น เช่น ใน สหรัฐอเมริกา ช่วงเวลาระหว่างทศวรรษ ๑๙๘๐-๒๐๐๐ ความเหลื่อมล้ำ �ในสังคมมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้น-ลงหลายครั้ง แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ช่วงใดที่ความเหลื่อมล้ำ �ในสังคมสูง พฤติกรรมไม่พึงปรารถนา ดังกล่าวนี้ในหมู่เยาวชนก็สูงด้วย ช่วงใดที่ความเหลื่อมล้ำ �ลดลง อัตราเยาวชนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึง ปรารถนาดังกล่าวก็ลดลงด้วย ทำ �ให้นักวิจัยสรุปว่า ปัญหาการใช้สารเสพติดและการตั้งครรภ์ที่ไม่ ประสงค์ของวัยรุ่นมีความสัมพันธ์กันเชิงบวก และความสัมพันธ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ (สฤณี อา- ชวานันทกุล, ๒๕๕๕) ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ ความเหลื่อมล้ำ �นั้นสัมพันธ์กับการที่คนเราจะรู้สึกว่าคนทั่วไปใน สังคมไว้ใจได้มากน้อยเพียงใด ข้อมูลจากประเทศที่ร่ำ �รวยกว่า ๒๐ ประเทศ ชี้ให้เห็นว่าสัดส่วนของ คนที่บอกว่าคนส่วนมากในสังคมไว้ใจได้นั้นจะสูงในประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำ �อยู่ในระดับต่ำ � กล่าว ในทางกลับกันก็คือ ในประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำ �ในสังคมสูง คนจะไม่ค่อยรู้สึกว่าตนจะไว้ใจคน ส่วนมากได้ ถ้าเรายอมรับว่า ความเหลื่อมล้ำ �ก็คือความรุนแรงทางโครงสร้างชนิดหนึ่ง ก็คงไม่ต้องมีคำ � อธิบายอะไรมากว่า ทำ �ไมในสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำ �สูงจึงมีความรุนแรงและอาชญากรรมมากกว่าใน สังคมที่มีความเหลื่อมล้ำ �ต่ำ � ทั้งนี้ก็เพราะว่า ความรุนแรงทั้งมวลถูกค้ำ �จุนไว้ด้วยความรุนแรงในระดับ โครงสร้างนั่นเอง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=