รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 246 ความเหลื่อมล้ำ �และผลกระทบทางสังคม ความขัดแย้งทำ �นองนี้เกิดขึ้นในสังคมไทยมานานและหลายด้าน บางครั้งก็เป็นความ ขัดแย้งระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ระหว่างประชาชนในท้องถิ่นด้วยกันเอง หรือ ระหว่างประชาชนกับกลุ่มทุนผู้มีอิทธิพลจากภายนอก กรณีหลังนี้จะเห็นได้จากความขัดแย้งที่หิน กรูด-บ่อนอก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นความขัดแย้งรุนแรงระหว่างประชาชนที่ต้องการปกป้อง ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนกับกลุ่มทุนที่ต้องการสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อป้อนให้ภาค อุตสาหกรรม จนนำ �ไปสู่ความรุนแรงถึงขั้นทำ �ร้ายต่อร่างกายและชีวิต อีกกรณีหนึ่งที่ละเอียดอ่อน มากกว่านั้นก็คือความขัดแย้งระหว่างเมืองกับชนบท มีผู้วิเคราะห์ว่าการรวมศูนย์อำ �นาจไว้ที่ส่วน กลางทำ �ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ �ในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติระหว่างคนเมืองกับคนในชนบท หรือ ถ้าจะกล่าวให้ชัดคือระหว่างกลุ่มทุนในเมืองกับชาวบ้านในท้องถิ่นชนบทที่มีทรัพยากรธรรมชาติ เหล่านั้น นอกจากนี้ ยังมีความไม่เสมอภาคอย่างมากระหว่างเมืองกับชนบทในด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สุขภาพ หรืออำ �นาจต่อรองทางการเมือง คนในชนบทเริ่มตระหนักในสิทธิของตนมากขึ้น ทำ �ให้ภาคชนบทเริ่มเรียกร้องด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ คือการชุมนุมประท้วงที่บางครั้งส่ง ผลกระทบรุนแรง ดังที่เกิดในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา (๒) อาชญากรรมและความรุนแรง อาชญากรรมและความรุนแรงในสังคมมีความสัมพันธ์ชัดเจนกับความเหลื่อมล้ำ � ผลการศึกษา ชี้ให้เห็นว่า ที่ใดมีความเหลื่อมล้ำ �ในระดับสูง ที่นั้นก็จะมีอัตราอาชญากรรมและความรุนแรงสูงด้วย ดังผลการศึกษาของนักอาชญาวิทยา ๒ คน คือ Hsieh and Pugh (ค.ศ. ๑๙๙๓) ซึ่งได้ประมวลข้อ ค้นพบจากรายงานการวิจัยเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำ �และอาชญากรรมรุนแรงจำ �นวน ๓๕ ชิ้น และพบ ว่า งานวิจัยเกือบทั้งหมด (ยกเว้นเพียงเรื่องเดียว) ได้ข้อค้นพบเหมือนกันว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวก ระหว่างความเหลื่อมล้ำ �ในสังคมกับอาชญากรรมรุนแรง ยิ่งความเหลื่อมล้ำ �สูงขึ้น อาชญากรรมรุนแรง ก็ยิ่งสูงตามไปด้วย อาชญากรรมรุนแรงในที่นี้รวมถึงการทำ �ร้ายร่างกายกัน ฆาตกรรม โจรกรรม และ การข่มขืน โดยปรกติอาชญากรรมเกิดในเขตเมืองมากกว่าในเขตชนบท แต่ในเมืองที่มีความเหลื่อมล้ำ � มากกว่า อาชญากรรมรุนแรงก็ยิ่งมากกว่าด้วย ดังนั้นจึงกล่าวได้อย่างมั่นใจว่า อาชญากรรมและความ รุนแรงสัมพันธ์เชิงบวกกับความเหลื่อมล้ำ �ในสังคม ริชาร์ด วิลคินสัน (Richard Wilkinson) และ เคต พิกเคตต์ (Kate Pickett) นักวิทยาการ ระบาด ผู้เขียนหนังสือ The Spirit Level (Wilkinson & Pickett, 2009, แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล, ๒๕๕๕) นำ �ข้อมูลจาก การสำ �รวจแนวโน้มอาชญากรรมและปฏิบัติการของระบบยุติธรรมทางอาญา (Surveys on Crime Trends and the Operation of the Criminal Justice Systems) ซึ่งดำ �เนิน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=