รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 245 ชาย โพธิสิตา ข้อมูลที่ยกมาเป็นตัวอย่างข้างต้นนี้แสดงให้เห็นว่า ความเหลื่อมล้ำ �ในสังคมไทยปัจจุบันไม่ ได้มีเฉพาะในด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่มีอยู่ในทุกด้าน และหากไม่มีมาตรการที่เหมาะสมมาบรรเทา ปัญหาในบางด้านจะยิ่งทวีความรุนแรงและแหลมคมยิ่งขึ้น ผลกระทบทางสังคมของความเหลื่อมล้ำ � ความเหลื่อมล้ำ �เป็นที่มาของปัญหาสังคม ยิ่งมีความเหลื่อมล้ำ �มากยิ่งมีปัญหาสังคมมาก แต่ ในที่นี้จะกล่าวถึงปัญหาสำ �คัญบางด้านที่มีผลการศึกษาที่เชื่อถือได้ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำ �คัญกับ ความเหลื่อมล้ำ �ในสังคม คือ ปัญหาความขัดแย้ง ปัญหาความรุนแรงและอาชญากรรม และปัญหา สุขภาพ ทั้งหมดนี้อาจเรียกรวม ๆ กันว่าปัญหาที่มีผลกระทบต่อความผาสุกของคนในสังคม (๑) ความขัดแย้ง ในสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำ �สูง ความขัดแย้งและความรุนแรงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ประเด็นที่น่าถาม คือ ความเหลื่อมล้ำ �ในสังคมนำ �ไปสู่ความขัดแย้งและความรุนแรงได้อย่างไร คำ � ตอบเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ไม่ยาก ถ้าโครงสร้างในสังคมที่เป็นอยู่ทำ �ให้คนจำ �นวนมากเห็นว่าตนด้อยกว่า คนอีกส่วนหนึ่งซึ่งบังเอิญเป็นส่วนน้อย ในด้านสิทธิและโอกาสที่เขาควรมีในการเข้าถึงทรัพยากรอัน จำ �เป็นต่อการดำ �รงชีวิต (ทรัพยากร เศรษฐกิจ การศึกษา สุขภาพ ฯลฯ) สภาพเช่นนี้ย่อมทำ �ให้เกิด การเปรียบเทียบ และในที่สุดก็จะเกิดความไม่พอใจ บางครั้งก็ทำ �ให้เกิดการประท้วง หรืออย่างน้อย ก็เรียกร้องสิทธิและโอกาสในรูปแบบต่าง ๆ หากไม่ได้รับการจัดการที่ดี ความขัดแย้งก็อาจเกิดขึ้นได้ ดังเช่นที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับประชาชนที่ทำ �กินอยู่ในพื้นที่ที่ถูกกำ �หนด ว่าเป็นเขตป่าสงวน ทั้งที่ความจริงแล้ว ในหลายกรณีเขตป่าสงวนหลายแห่งถูกกำ �หนดขึ้นหลังจากที่ ประชาชนได้เข้าครอบครองทำ �กินในเขตนั้นมาก่อนแล้วเป็นเวลานาน ทำ �ให้ประชนชนรู้สึกว่าตนไม่ได้ รับความเป็นธรรม เพราะเห็นอยู่ว่า นายทุนและผู้มีอิทธิพลจำ �นวนมากเข้าครอบครองพื้นที่ป่าสงวน เพื่อทำ �ประโยชน์ได้ โดยที่ไม่มีอำ �นาจจากรัฐหรือกฎหมายเข้าไปจัดการแต่อย่างใด ความไม่พอใจเช่น นี้เมื่อสะสมพอกพูนนานเข้าก็นำ �ไปสู่ความขัดแย้ง เบื้องต้นอาจเป็นความขัดแย้งที่ยึดโยงอยู่กับผล ประโยชน์ ซึ่งก็ไม่ใช่สิ่งที่ดีในตัวของมันเองอยู่แล้ว แต่ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่มีสาเหตุมาจาก โครงสร้างอันไม่เป็นธรรมนั้นสามารถตกผลึกและนำ �ไปสู่ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ซึ่งพัฒนาไปสู่ ความขัดแย้งทางชนชั้นได้ ถึงขั้นนั้นความไม่พอใจก็จะยกระดับขึ้นสู่การเป็นความขัดแย้งทางสังคม และการเมืองที่หาทางออกได้ยาก

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=