รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 244 ความเหลื่อมล้ำ �และผลกระทบทางสังคม พ.ศ. ๒๕๕๓ แสดงให้เห็นว่า : - ระบบสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลสำ �หรับข้าราชการและครอบครัว ซึ่งดูแลคน ประมาณ ๕ ล้านคน ใช้งบประมาณเฉลี่ยต่อหัว ๑๒,๐๐๐ บาทต่อปี - ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ซึ่งดูแลคนราว ๔๘ ล้านคน ใช้ค่าใช้จ่ายต่อหัว ใน พ.ศ. ๒๕๕๒ เท่ากับ ๑,๙๕๘.๔๖ บาท (ต่างกันกว่า ๖ เท่า) - ระบบประกันสังคม ซึ่งดูแลแรงงานนอกระบบประมาณ ๑๐ ล้านคน เป็นระบบที่ผู้ประกัน ตนต้องจ่ายเงินสมทบในอัตราร้อยละ ๑.๕ ของเงินเดือน ค่าใช้จ่ายต่อหัวที่รัฐจัดให้จึงไม่แน่นอนขึ้น อยู่กับฐานเงินเดือนของแต่ละคน ในระบบประกันสังคมนี้ผู้เอาประกันเสียเปรียบกลุ่มอื่น ๆ เพราะ ต้องจ่ายเงินสมทบ แต่ระบบอื่นผู้ได้รับประโยชน์ไม่ต้องจ่ายเงินสมทบโดยตรง (๙) กระบวนการยุติธรรม แม้ว่าการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมจะเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่ง แต่ในทาง ปฏิบัติแล้วยังมีสถิติที่แสดงว่ามีคนไทยจำ �นวนมากที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเท่า เทียมกับคนอื่น เช่นในกรณีตัวอย่างต่อไปนี้ ในปัจจุบันมีผู้ต้องขังทั่วประเทศอยู่ประมาณกว่า ๒๔๐,๐๐๐ คน ส่วนใหญ่ที่สุดของผู้ต้อง ขังเหล่านี้เป็นคนจน คำ �อธิบายที่ว่าคนจนละเมิดกฎหมายมากกว่าคนรวยนั้นไม่มีน้ำ �หนักมากเท่ากับ คำ �อธิบายที่ว่า เพราะคนจนกับคนรวยที่ทำ �ผิดกฎหมายมีความสามารถและมี “อำ �นาจ” ในการ “หลบหลีก” การถูกจับกุมคุมขังต่างกัน ในจำ �นวนผู้ต้องขังทั้งหมด มีผู้ที่ถูกคุมขังก่อนที่คดีจะถึงที่สุดประมาณ ๕๐,๐๐๐ คน ส่วน ใหญ่เป็นคนจนที่ไม่มีหลักทรัพย์ประกันตน อีกส่วนหนึ่งเป็นผู้ที่คดีถึงที่สุดแล้วแต่ไม่มีเงินเสียค่าปรับ ตามคำ �พิพากษาของศาล จึงถูกคุมขังแทน พ.ศ. ๒๕๕๓ มีคดีเกี่ยวกับที่ดิน ป่าไม้ และที่สาธารณประโยชน์รวมทั้งสิ้น ๑๓๑ คดี มีผู้ถูก ฟ้องเกือบ ๕๐๐ ราย ในจำ �นวนนี้มี ๓๘ รายที่ถูกฟ้องทางแพ่งตามมาตรา ๙๗ แห่งพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือที่รู้กันทั่วไปว่า “คดีโลกร้อน” หากศาล ตัดสินให้แพ้คดี ชาวบ้านผู้ยากจนที่ถูกฟ้องจะต้องจ่ายค่าเสียหายเป็นเงิน ๓๒,๘๔๑,๖๐๘ บาท ข้อน่า สังเกตคือ ขณะที่มีโรงงานอุตสาหกรรมจำ �นวนมากปล่อยมลพิษ และนายทุนจำ �นวนมากลักลอบถาง ป่าสงวนเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างผิดกฎหมาย ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นต้นเหตุโดยตรงที่ทำ �ให้โลกร้อน แต่ก็ไม่เคยถูกดำ �เนินคดี นี่เป็นตัวอย่างอันหนึ่งของการมี “สองมาตรฐาน” หรือความไม่เป็นธรรมใน กระบวนการยุติธรรม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=