รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 243 ชาย โพธิสิตา (๕) การกระจายงบประมาณของรัฐเพื่อการพัฒนา ๑๕ จังหวัดที่มีระดับการพัฒนาสูงสุด (วัดจากดัชนีความก้าวหน้าของคน หรือ Human Achievement Index) ได้รับงบประมาณลงทุนจากรัฐบาลสูงสุด คือ ๗,๕๐๙.๕๒ บาทต่อประชากร ๑ คน ขณะที่ ๑๘ จังหวัดที่ระดับการพัฒนาต่ำ �สุดได้รับงบลงทุนต่อหัวน้อยที่สุด คือ ๒,๗๙๖.๓๐ บาท ทั้ง ๆ ที่ความจริงควรจะกลับกัน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ � (ข้อมูลประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑) (๖) การแข่งขันในภาคธุรกิจ ใน พ.ศ. ๒๕๕๓ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุด ๒๐ แห่ง มีมูลค่าหลัก ทรัพย์ในตลาดรวมกันแล้วมากกว่าร้อยละ ๗๐ ของมูลค่าหลักทรัพย์ทั้งหมด บริษัททั้ง ๒๐ แห่งนี้ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มบริษัทเดียวกันหรืออยู่ในเครือเดียวกัน จึงมีความได้เปรียบสูงในเชิงการแข่งขัน บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในตลาดหลักทรัพย์ส่วนใหญ่แล้วคือบริษัทที่ทำ �ธุรกิจเชื่อมโยงอยู่กับ นโยบายของรัฐ เช่น ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจโทรคมนาคม ธุรกิจก่อสร้างขนาดใหญ่ รัฐวิสาหกิจกึ่งผูกขาด บางประเภท (๗) การศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๙ รัฐให้งบอุดหนุนการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ๓๐,๑๕๐ บาทต่อคนต่อปี แต่ให้ แก่ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา เท่ากับ ๑๓,๓๙๗, ๑๕,๗๙๓ และ ๑๗,๒๙๕ บาท ต่อคนต่อปี การจัดสรรงบประมาณที่เน้นระดับอุดมศึกษามากกว่าระดับอื่นเช่นนี้ ทำ �ให้กลุ่มผู้เรียน ที่มาจากครอบครัวฐานะดีซึ่งมีแต้มต่อทางการศึกษาอยู่แล้ว ได้เปรียบมากขึ้น เพราะกลุ่มที่มาจาก ครอบครัวฐานะดีมีโอกาสเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษามากกว่ากลุ่มอื่น โดยรวมแล้ว กลุ่มผู้มีรายได้สูงสุด (ร้อยละ ๑๐ ที่รวยที่สุด) ได้รับส่วนแบ่งเงินอุดหนุนต่อหัว สำ �หรับการศึกษาทุกระดับชั้นมากกว่ากลุ่มผู้มีรายได้ต่ำ �สุด (ร้อยละ ๑๐ ที่จนที่สุด) ถึง ๒ เท่าตัว (๘) สุขภาพ แม้ว่าอัตราส่วนประชากรต่อแพทย์ในภาพรวมทั้งประเทศจะลดลง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่ยัง มีความเหลื่อมล้ำ �ระหว่างภาคอยู่มาก เช่น ใน พ.ศ. ๒๕๔๘ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราส่วน ประชากรต่อแพทย์สูงกว่าภาคกลาง ๒.๓ เท่า สูงกว่าภาคเหนือ ๑.๙ เท่า สูงกว่าภาคใต้ ๑.๗ เท่า และสูงกว่ากรุงเทพมหานคร ๘ เท่า (วิชัย โชควิวัฒน, ๒๕๕๔) ในประเทศไทย ประชากรทุกคนได้รับสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลภายใต้ระบบประกัน สุขภาพระบบใดระบบหนึ่งใน ๓ ระบบหลักที่มีอยู่ คือ (๑) สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลสำ �หรับ ข้าราชการและครอบครัว (๒) ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) และ (๓) ระบบประกัน สังคม แต่ใน ๓ ระบบนี้มีความเหลื่อมล้ำ �และลักลั่นกันมาก (วิชัย โชควิวัฒน, ๒๕๕๔) ตัวเลขเมื่อ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=