รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 242 ความเหลื่อมล้ำ �และผลกระทบทางสังคม ทำ �กินจำ �นวน ๘๘๙,๐๒๒ ราย กรณีมีที่ดินทำ �กินแต่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำ �รงชีพ ๕๑๗,๒๖๓ ราย และกรณีมีที่ดินแต่ไม่มีเอกสารสิทธิอีก ๘๑๑,๒๗๙ ราย ขณะที่ร้อยละ ๓๐ ของที่ดินที่มีการถือครอง ทั้งหมดอยู่ในมือของคนรวย แต่ปล่อยให้รกร้าง ไม่ได้ทำ �ประโยชน์ หรือทำ �ไม่เต็มที่ การศึกษาการถือครองที่ดินใน ๘ จังหวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยใช้ข้อมูลจากกรมที่ดิน พบว่า ใน ๔ จังหวัดจากจำ �นวนทั้งหมด ๘ จังหวัดที่ศึกษา เจ้าของที่ดินรายใหญ่ที่สุด ๕๐ รายแรกถือครอง ที่ดินรวมกันแล้วเกินร้อยละ ๑๐ ของที่ดินที่สามารถถือครองได้ทั้งหมดในจังหวัดนั้น ๆ ได้แก่ ภูเก็ต เจ้าของที่ดินรายใหญ่สุด ๕๐ รายแรก ถือครองที่ดินร้อยละ ๑๔.๒ ของทั้งจังหวัด ปทุมธานีร้อยละ ๑๒.๔ สมุทรปราการร้อยละ ๑๑.๗ และกรุงเทพมหานครร้อยละ ๑๐.๑ (ดวงมณี เลาวกุล, ๒๕๕๑) (๓) น้ำ � พลังงาน และทรัพยากรชายฝั่ง พ.ศ. ๒๕๕๒ มีพื้นที่การเกษตรทั่วประเทศ ๑๓๑ ล้านไร่ ในจำ �นวนนี้เป็นที่ดินที่ได้รับน้ำ �จาก ระบบชลประทานประมาณเพียง ๓๖ ล้านไร่ (ร้อยละ ๒๗) อยู่ในภาคกลาง ๑๗ ล้านไร่ ภาคเหนือ ๙ ล้านไร่ ภาคอีสาน ๖ ล้านไร่ และภาคใต้ ๔ ล้านไร่ วิธีการจัดการน้ำ �ท่วมโดยผันน้ำ �ออกเพื่อไม่ให้ท่วมเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพหมานคร นิคม อุตสาหกรรม แต่ปล่อยให้ท่วมพื้นที่รอบนอกและพื้นที่เกษตรกรรม ดังที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในรอบหลาย ปีที่ผ่านมา ที่เห็นได้ชัดก็คือในกรณีน้ำ �ท่วมใหญ่ พ.ศ. ๒๕๕๔ มองในแง่หนึ่ง เรื่องนี้ไม่ได้เป็นปัญหา ในด้านความเหลื่อมล้ำ �เท่านั้น แต่เป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบด้วย ใน พ.ศ. ๒๕๔๙ ห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๓ แห่งในใจกลางกรุงเทพมหานครใช้ไฟฟ้า ๒๗๙ ล้าน หน่วย มากกว่าปริมาณไฟฟ้าที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนใช้ในปีเดียวกันกว่า ๔ เท่า (พ.ศ. ๒๕๔๙ จังหวัด แม่ฮ่องสอนใช้ไฟ ๖๕ ล้านหน่วย) พ.ศ. ๒๕๕๒ ปริมาณสัตว์น้ำ �ในอ่าวไทยที่จับโดยใช้อวนลากได้ประมาณ ๒๓ กก./ชม. ลด ลงจากเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ ซึ่งเคยได้ประมาณ ๑๓๒ กก./ชม. ร้อยละ ๙๑ ของสัตว์น้ำ �ที่จับได้ใน พ.ศ. ๒๕๕๒ นั้น เป็นการจับโดยเรือประมงเชิงพาณิชย์ซึ่งคิดเป็นเพียงร้อยละ ๑๒ ของเรือประมงทั้งหมด เท่านั้น ขณะที่ชุมชนประมงตามแนวชายฝั่งทั้งหมดจับสัตว์น้ำ �คิดเป็นร้อยละ ๙ เท่านั้น (๔) การเข้าถึงสินเชื่อในระบบ เกือบ ๓ ใน ๔ ของสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์กระจุกตัวอยู่ในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ซึ่งก็กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ขณะที่ภาคการเกษตร (ชนบท) ซึ่งมีการจ้างงาน ราวร้อยละ ๓๘ ของแรงงานทั้งหมดกลับมีมูลค่าสินเชื่อเพียงร้อยละ ๑ เท่านั้น ทำ �ให้ภาคเศรษฐกิจใน ระบบซึ่งได้เปรียบอยู่แล้ว ยิ่งได้เปรียบมากขึ้น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=