รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 241 ชาย โพธิสิตา ช่วงห่างของรายได้ระหว่างกลุ่มคนที่รวยที่สุดร้อยละ ๑๐ ของทั้งประเทศ เทียบกับของกลุ่ม ที่จนที่สุดร้อยละ ๑๐ เพิ่มขึ้นจาก ๒๐.๙ เท่า ใน พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็น ๒๕.๑ เท่า ใน พ.ศ. ๒๕๕๔ (สำ �นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ๒๕๕๖) (ในสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำ � น้อยอย่างเช่นญี่ปุ่นและนอร์เวย์ ที่ช่วงห่างของรายได้ครัวเรือนกลุ่มรวยที่สุดกับกลุ่มจนที่สุดห่างกัน ประมาณ ๓-๔ เท่าเท่านั้น) ใน พ.ศ. ๒๕๕๒ กลุ่มครัวเรือนร้อยละ ๒๐ ที่รวยที่สุดมีส่วนแบ่งรายได้มากกว่าร้อยละ ๕๐ ของทั้งประเทศ ขณะที่กลุ่มครัวเรือนร้อยละ ๒๐ ที่จนที่สุดมีส่วนแบ่งรายได้ไม่ถึงร้อยละ ๕ ตามข้อมูลจากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๓ มีบัญชีเงินฝากธนาคาร ของบุคคลธรรมดาที่มีเงินอยู่ในบัญชีตั้งแต่ ๑๐ ล้านบาทขึ้นไปรวมทั้งสิ้นมี ๗๐,๑๘๑ บัญชี แต่คน ที่เป็นเจ้าของบัญชีเหล่านี้มีราว ๓๕,๐๐๐ คนเท่านั้น (หรือเฉลี่ยคนละ ๒ บัญชี) เงินในบัญชีของคน เหล่านี้รวมกันแล้วมีประมาณ ๒.๙ ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๔๐ ของเงินฝากธนาคารทั้งหมด ขณะที่บัญชีเงินฝากที่มีเงินไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาทมี ๗๐.๑ ล้านบัญชี แต่มีเงินรวมกัน ๓๐๐,๙๗๓ ล้าน บาท คิดเป็นร้อยละ ๔ ของเงินฝากทั้งระบบเท่านั้น ใน พ.ศ. ๒๕๕๓ คนไทย ๕๐๐ คนแรกที่มีหุ้นในตลาดหลักทรัพย์มากที่สุด มาจากตระกูล คนรวย ๒๐๐ ตระกูลเท่านั้น สถิติจากการสำ �รวจสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. ๒๕๔๙ ของสำ �นักงาน สถิติแห่งชาติ แสดงว่า ครัวเรือนร้อยละ ๒๐ ที่รวยที่สุดครอบครองทรัพย์สินที่ไม่ใช่เงิน (เช่น ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ฯลฯ) เกือบร้อยละ ๗๐ ของทั้งประเทศ ขณะที่ครัวเรือนร้อยละ ๒๐ ที่จนที่สุดครอบ ครองทรัพย์สินคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ ๑ เท่านั้น นั่นคือต่างกันเกือบ ๗๐ เท่า จังหวัดระยองมีผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวเฉลี่ย ๑,๐๓๕,๕๓๖ บาท/ปี แต่จังหวัดศรีสะเกษมี ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวเฉลี่ย ๒๙,๑๗๔ บาท/ปี (๒) ที่ดิน เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย มูลนิธิสถาบันที่ดินแห่งประเทศไทย ประเมินว่า คน ไทยประมาณร้อยละ ๙๐ ถือครองที่ดินไม่เกิน ๑ ไร่ ในขณะที่คนอีกร้อยละ ๑๐ ที่เหลือถือครองที่ดิน คนละมากกว่า ๑๐๐ ไร่ ในช่วงปลาย พ.ศ. ๒๕๔๗ รัฐบาลเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนเพื่อขอรับความช่วยเหลือ ผ่านศูนย์อำ �นวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) ปรากฏว่า มีคนที่มาลงทะเบียน เพราะประสบปัญหาการเข้าถึงทรัพยากรที่ดินรวมทั้งสิ้น ๒,๒๑๗,๕๖๔ ราย แบ่งเป็นกรณีไม่มีที่ดิน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=