รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 240 ความเหลื่อมล้ำ �และผลกระทบทางสังคม วงการศึกษาวิจัยทั่วไป ความเหลื่อมล้ำ �ทางรายได้เป็นมาตรวัดที่ได้จากการเอารายได้ของคนทั้งหมด ในเศรษฐฐานะต่าง ๆ ตั้งแต่จนที่สุดถึงรวยที่สุดมาเปรียบเทียบกันเพื่อจะบอกว่าประชากรกลุ่มไหน ได้ส่วนแบ่งรายได้มาก-น้อยอย่างไร มาตรวัดนี้จึงบอกความไม่เท่าเทียมทางรายได้โดยตรง ๓ ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้เป็นความเหลื่อมล้ำ �ด้านต่าง ๆ ในสังคมไทย ข้อมูลความเหลื่อมล้ำ �ส่วน ใหญ่ที่นำ �มาเสนอในที่นี้ได้มาจากรายงาน เรื่อง ความเหลื่อมล้ำ �ฉบับพกพา (สฤณี อาชวานันทกุล, ๒๕๕๔) ซึ่งเสนอต่อคณะกรรมการปฏิรูป ข้อมูลมาจากแหล่งอื่นก็มีบ้าง ซึ่งได้ระบุไว้เป็นการเฉพาะ ในที่นั้น ๆ แล้ว ความเหลื่อมล้ำ �ที่นำ �เสนอทั้งหมดนี้สะท้อนความไม่เป็นธรรมในระดับโครงสร้าง ซึ่งเปิดโอกาสให้คนที่อยู่ในสถานะได้เปรียบอยู่แล้วสามารถเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ ได้มากกว่าคน กลุ่มอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถจะกล่าวได้ว่าความเหลื่อมล้ำ �ที่เสนอต่อไปนี้ครอบคลุมหมดทุก ด้านอย่างสมบูรณ์ ที่เลือกนำ �เสนอในที่นี้เป็นบางด้านเพื่อให้เห็นเป็นตัวอย่างเท่านั้น ได้แก่ ความ เหลื่อมล้ำ �ด้านเศรษฐกิจ การเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ การกระจายงบประมาณเพื่อการพัฒนา การศึกษา สุขภาพ และกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อแสดงให้เห็นว่า ความ เหลื่อมล้ำ �เหล่านี้สะท้อนความไม่เป็นธรรมเชิงโครงสร้าง ซึ่งมีอยู่ในแทบทุกมิติของสังคมไทยปัจจุบัน (๑) ความเหลื่อมล้ำ �ด้านรายได้และทรัพย์สิน แม้ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาจะทำ �ให้รายได้เฉลี่ยต่อหัวของคน ไทยเพิ่มขึ้น โดยมีสัดส่วนคนที่มีรายได้ต่ำ �กว่า “เส้นความยากจน” ลดลงมาตลอด (สัดส่วนคนยากจน ลดจากร้อยละ ๖๕.๓ ของประชากรทั้งหมดใน พ.ศ. ๒๕๓๑ เหลือร้อยละ ๑๓.๒ ใน พ.ศ. ๒๕๕๔) แต่ ความเหลื่อมล้ำ �ทางรายได้ระหว่างกลุ่มคนรวยกับคนจนกลับแทบไม่เปลี่ยนแปลงเลย จะเห็นได้จาก ค่าสัมประสิทธิ์ Gini Coefficient ๔ ที่บอกว่าการกระจายรายได้ในสังคมมีความไม่เสมอภาค หรือ มีความเหลื่อมล้ำ �เพียงใด ค่าสัมประสิทธิ์นี้ของไทยในรอบ ๒๕ ปีที่ผ่านมาอยู่ระหว่าง ๐.๔๘-๐.๕๔ (สุพัณณดา เลาหชัย, ๒๕๑๓) ซึ่งนับว่าอยู่ในระดับสูง ๓ ความเหลื่อมล้ำ �ทางรายได้เป็นมาตรวัดที่ไม่เกี่ยวกันกับรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากร ซึ่งเกิดจากการเอารายได้ทั้งหมดของคนในประเทศ มาหารด้วยจำ �นวนประชากรเท่านั้นรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรในประเทศจะมากหรือน้อยจึงไม่ใช่ตัวที่บ่งบอกระดับความเหลื่อมล้ำ � ตัวอย่าง เช่น ตามข้อมูลของธนาคารโลก พ.ศ. ๒๕๕๕ สหรัฐอเมริกามีรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรเท่ากับ ๔๙,๙๖๕ ดอลลาร์สหรัฐ สูงกว่าญี่ปุ่น ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรเท่ากับ ๓๕,๑๗๘ ดอลลาร์สหรัฐ แต่สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำ �ทางรายได้สูงที่สุดใน บรรดาประเทศที่ร่ำ �รวยทั้งหมด ขณะที่ญี่ปุ่นมีความเหลื่อมล้ำ �ทางรายได้ต่ำ �ที่สุด ๔ คือค่าทางสถิติที่บอกว่าการกระจายรายได้มีความเหลื่อมล้ำ �อยู่ในระดับใด Gini Coefficient มีค่าระหว่าง ๐ ถึง ๑ โดยที่ค่าในระดับต่ำ � หรือค่อนมาทาง ๐ แสดงว่ามีความเหลื่อมล้ำ �น้อย และค่าที่สูงค่อนไปทาง ๑ แสดงว่ามีความเหลื่อมล้ำ �ทางรายได้มาก โดยปรกติค่า สัมประสิทธิ์การกระจายรายได้ที่ไม่เกิน ๐.๓ ถือว่ามีความเหลื่อมล้ำ �น้อยมากกว่านั้นแสดงว่าเหลื่อมล้ำ �มาก

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=