รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 239 ชาย โพธิสิตา อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่โครงสร้างทางสังคมทั้งหมดจะนำ �ไปสู่ความเหลื่อมล้ำ � โครงสร้างที่ทำ �ให้ เกิดความเหลื่อมล้ำ �นั้น คือโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรมเพราะเปิดโอกาสให้คนบางคน บางกลุ่ม โดย เฉพาะที่อยู่ในสถานะได้เปรียบอยู่แล้ว สามารถเข้าถึงทรัพยากรอันเป็นฐานของการดำ �รงชีวิตได้ มากกว่าคนที่อยู่ในสถานะอื่น ๆ ในสังคม นักวิชาการทางสังคมหลายคนลงความเห็นว่า ที่สุดของ โครงสร้างที่ไม่เป็นธรรมนั้นคือ โครงสร้างที่รวมศูนย์อำ �นาจไว้ที่ส่วนกลาง การรวมศูนย์อำ �นาจเช่นนี้ อาจเกิดขึ้นในระดับใดก็ได้ นับแต่ระดับสถาบันทางสังคม องค์กร ชุมชน ท้องถิ่น ไปจนถึงระดับรัฐ การรวมศูนย์อำ �นาจของรัฐนั้นสำ �คัญกว่าอื่นใด เพราะมีพลังสูงสุดและสามารถส่งผลกระทบต่ออำ �นาจ ในระดับอื่น ๆ ได้ทั้งหมด (คณะกรรมการปฏิรูป, ๒๕๕๔ ข.) คำ �ถามตรงนี้คือ โครงสร้างอำ �นาจที่รวมศูนย์ (ไม่ว่าจะในระดับใดก็ตาม) นำ �ไปสู่ความเหลื่อม ล้ำ �ได้อย่างไร ประการแรก การที่อำ �นาจถูกรวมไว้ที่ศูนย์กลางนั้น มีผลโดยตรงคือทำ �ให้เกิดความ ไม่เท่าเทียมกันของอำ �นาจในหมู่คนที่อยู่ในเขตอำ �นาจเดียวกัน (เช่น ในชุมชน องค์กร ท้องถิ่น รัฐ) อำ �นาจที่ไม่เท่าเทียมกันนั้นมักจะตามมาด้วยการที่คนมีสิทธิและโอกาสในด้านต่าง ๆ ไม่เท่าเทียมกัน ด้วย นั่นหมายความว่าคนจำ �นวนหนึ่งจะมีโอกาสและมีสิทธิมากกว่าคนที่เหลือ ในการตัดสินใจและ การกำ �หนดนโยบายและกติกา สำ �หรับการบริหารจัดการกิจการสาธารณะในระดับต่าง ๆ ผลโดย รวมที่ตามมาคือ กลุ่มคนที่มีอำ �นาจรวมศูนย์อยู่ในมือ (รวมถึงกลุ่มคนที่อยู่ใกล้ศูนย์อำ �นาจนั้นด้วย) จะสามารถเข้าถึงทรัพยากรทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ฯลฯ ได้มากกว่าคนกลุ่มอื่น เรื่องนี้เป็นความจริงในทุกระดับ แต่ที่ชัดเจนที่สุดคือในระดับรัฐ ซึ่งอำ �นาจกระจุกตัวอยู่ ที่รัฐบาลกลาง โดยมีกระทรวงและกรมต่าง ๆ เป็นศูนย์กลางของการกำ �หนดนโยบาย และกำ �กับ กิจการสาธารณะทุกด้าน ในระดับต่ำ �ลงไป เช่น จังหวัด ท้องถิ่น หรือชุมชน อำ �นาจที่รวมศูนย์อยู่ที่ ส่วนกลาง ก็ก่อให้เกิดผลทำ �นองเดียวกัน การมีส่วนร่วมของประชาชนในสถานการณ์ที่มีการรวมศูนย์ อำ �นาจเช่นนั้นเป็นไปได้ในของเขตที่จำ �กัด แม้ว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย (โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. ๒๕๔๐ และ ๒๕๕๐) จะกำ �หนดให้มีการกระจายอำ �นาจการ บริหารราชการจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่น โดยมีเจตนารมณ์ให้ประชาชนในระดับต่าง ๆ มีส่วนร่วมใน การกำ �หนดนโยบายและการดำ �เนินกิจการสาธารณะมากขึ้น แต่ในทางปฏิบัติก็ยังไม่เกิดผลเท่าที่ควร ความเหลื่อมล้ำ �ในสังคมไทย เมื่อพูดถึงความเหลื่อมล้ำ � คนส่วนมากจะคิดถึงความเหลื่อมล้ำ �ทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะใน ด้านรายได้ เพราะเป็นสิ่งที่เห็นได้ง่ายและวัดได้ชัดเจนกว่าด้านอื่น ๆ ความเหลื่อมล้ำ �ทางรายได้จึง มักถูกใช้เป็นตัวชี้วัดความเหลื่อมล้ำ �ด้านอื่น ๆ เช่น ด้านสังคม ด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันใน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=