รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 238 ความเหลื่อมล้ำ �และผลกระทบทางสังคม ค่านิยมในสังคมทุกวันนี้ก็ตีค่าเช่นนั้น) อีกทั้งมักจะได้รับการยอมรับในสังคมว่ามีหน้ามีตาด้วย ความ เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดของมิติทั้ง ๕ ของความเหลื่อมล้ำ �ดังที่กล่าวมาอาจสรุปเพื่อความ เข้าใจง่ายได้ดังภาพที่ ๑ ภาพที่ ๑ มิติทั้ง ๕ ของความเหลื่อมล้ำ �ส่งผลเชื่อมโยงกันทั้งหมด รากเหง้าของความเหลื่อมล้ำ � การวิเคราะห์ที่มาของความเหลื่อมล้ำ �ด้านรายได้ สิทธิ โอกาส อำ �นาจ และศักดิ์ศรี ของ คนในสังคม จำ �เป็นต้องวิเคราะห์ลงไปถึงระดับโครงสร้าง เพราะแม้ว่าอาจจะมีที่มาได้หลายทาง แต่ ที่สุดแล้วความเหลื่อมล้ำ �นั้นก็ถูกค้ำ �จุนไว้ด้วยโครงสร้างต่าง ๆ ในสังคมนั่นเอง โครงสร้างในที่นี้รวม ถึงโครงสร้างที่มีการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ เช่น โครงสร้างของระบบบริหารหน่วยงาน องค์กร และ รัฐ ซึ่งในขั้นสูงสุดแล้วมีรัฐธรรมนูญและกฎหมาย รวมทั้งกฎระเบียบต่าง ๆ รองรับ โครงสร้างอีกแบบ หนึ่งเป็นโครงสร้างที่ไม่เป็นทางการ แต่คนในสังคมได้ถือปฏิบัติต่อเนื่องมานาน จนกลายเป็นแนวทาง ปฏิบัติที่เป็นเสมือนกฎกติกามารยาท สามารถให้คุณให้โทษแก่ผู้เกี่ยวข้องได้ เช่น การเลือกปฏิบัติ ระหว่างเพศชายกับเพศหญิง ที่ทำ �ให้เกิดความไม่เท่าเทียมด้านสิทธิและโอกาสระหว่างชายหญิงใน สังคม หรือการเลือกปฏิบัติต่อคนที่ด้อยโอกาสหรือคนชายขอบในรูปแบบต่าง ๆ โครงสร้างที่ไม่เป็น ทางการเช่นนี้ อาจเรียกว่า โครงสร้างทางวัฒนธรรม รายได้ สิทธิ โอกาส อำ �นาจ ศักดิ์ศรี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=