รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 237 ชาย โพธิสิตา ที่กล่าวมาข้างต้นหมายความว่า ความแตกต่างระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่มไม่ใช่ประเด็น สำ �คัญ ถ้าตราบใดที่คนหรือกลุ่มที่แตกต่างกันเหล่านั้นยังมีสิทธิและโอกาสเท่าเทียมกัน ในการเข้าถึง ทรัพยากรที่จำ �เป็นสำ �หรับการดำ �รงชีวิตได้อย่างเต็มศักยภาพของเขา ก็ยังไม่ถือว่าเป็นความเหลื่อม ล้ำ �ทางสังคม จึงสรุปว่า ความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงทรัพยากรอันเป็นฐานของการดำ �รงชีวิตนั่น แหละคือแก่นแท้ของความเหลื่อมล้ำ � ความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงทรัพยากรอันเป็นฐานในการดำ �รงชีวิตนั้น นำ �มาซึ่งความ เหลื่อมล้ำ �เชิงอำ �นาจ “อำ �นาจ” ที่ว่านี้หมายรวมถึงอำ �นาจในทุกด้าน ไม่จำ �เป็นจะต้องเป็นอำ �นาจ ทางการเมืองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอำ �นาจที่จะต่อรองทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมด้วย และ สำ �คัญที่สุดคืออำ �นาจที่บุคคลจะสามารถจัดการหรือกำ �หนดชีวิตของตนเองได้โดยอิสระอย่างเท่า เทียมกับผู้อื่นภายในสังคมเดียวกัน ในสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำ �เชิงอำ �นาจนั้น คนจำ �นวนหนึ่งมีสิทธิ และมีโอกาสมากกว่า ไม่เพียงแต่ในการกำ �หนดชีวิตตนเองเท่านั้น แต่ยังสามารถกำ �หนดและครอบงำ � ชีวิตของคนอื่นได้ด้วย ขณะที่คนอีกจำ �นวนหนึ่งขาดสิทธิและโอกาสที่จะจัดการตนเองได้อย่างมี ศักดิ์ศรี ต้องอยู่ใต้อำ �นาจของผู้อื่น ความเหลื่อมล้ำ �ในสังคมที่มองเห็นได้ชัดเจนและสามารถวัดเป็นเชิงปริมาณได้ คือความ เหลื่อมล้ำ �ด้านเศรษฐกิจ แต่นั่นเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นประจักษ์ในระดับผิวพื้นเท่านั้น ลึกลง ไปกว่านั้นความเหลื่อมล้ำ �มีหลายมิติ เอกสารของคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) สรุปเป็นวลีสั้น ๆ ให้ เห็นภาพที่ครอบคลุมได้ค่อนข้างชัดว่า มิติของความเหลื่อมล้ำ �ที่สำ �คัญมี ๕ ด้าน คือด้านรายได้ สิทธิ โอกาส อำ �นาจ และ ศักดิ์ศรี (คณะกรรมการปฏิรูป, ๒๕๕๔ ก.) ความเหลื่อมล้ำ �ทั้ง ๕ ด้านนี้ไม่ได้แยกขาดจากกัน แต่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันทั้งหมด ยก ตัวอย่างเช่น เพราะด้อยในด้านสิทธิ บุคคลจึงมีโอกาสด้อยกว่าผู้อื่นในการเข้าถึงทรัพยากรที่จำ �เป็น สำ �หรับการดำ �รงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่อยู่อาศัย ที่ดินทำ �กิน การศึกษา หรืออาชีพการงาน การ ด้อยทั้งในด้านสิทธิและโอกาสย่อมส่งผลโดยตรงต่อรายได้ของเขา ในสถานะเช่นนั้นบุคคลมักจะ มีอำ �นาจต่อรองน้อยหรืออาจจะไม่มีเลย และในสังคมที่ให้ความสำ �คัญอย่างสูงแก่ความสำ �เร็จในด้าน อาชีพและรายได้อย่างเช่นในปัจจุบัน ศักดิ์ศรีในสังคมของเขาก็มักจะด้อยกว่า เพราะศักดิ์ศรีมักผูก ติดอยู่กับการมีรายได้และการมีอำ �นาจต่อรอง ทั้งในทางเศรษฐกิจและการเมือง ในทางกลับกันผู้ที่ มีโอกาสมากกว่ามักจะมีสิทธิในการเข้าถึงเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ ได้มากกว่า ซึ่งนำ �ไปสู่การมีรายได้ สูงกว่าและมีอำ �นาจมากกว่า (ทั้งอำ �นาจที่จะต่อรองกับผู้อื่น/กลุ่มอื่น และอำ �นาจในการจัดการชีวิต ของตนเอง) คนที่ประสบความสำ �เร็จเช่นนั้นสามารถจะจัดการตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรี (อย่างน้อย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=