รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 236 ความเหลื่อมล้ำ �และผลกระทบทางสังคม ล้ำ �เป็นสังคมที่เสียดุลยภาพ ส่วนต่าง ๆ จะทำ �หน้าที่ได้ไม่เต็มศักยภาพ เปรียบเหมือนความเจ็บป่วย ที่เกิดกับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกายคน นอกจากจะมีผลให้การทำ �หน้าที่ของอวัยวะส่วนนั้นผิด ปรกติไปแล้ว ยังส่งผลให้ร่างกายทั้งหมดพลอยเสียดุลยภาพไปด้วย แม้ว่าที่ผ่านมา รัฐจะหาทางลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ �ในสังคม แต่ก็ยังไม่สัมฤทธิ์ผลอย่าง ยั่งยืน มาตรการบางอย่างอาจบรรเทาความเหลื่อมล้ำ �ลงได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ไม่นานก็กลับมาได้ อีก และที่กลับมารุนแรงมากขึ้นกว่าเดิมก็มี ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะการแก้ปัญหาที่แล้วมานั้นส่วนใหญ่ เป็นการแก้ที่ไม่เบ็ดเสร็จ โดยอาศัยแต่กลไกของภาครัฐเป็นหลัก ขณะที่โครงสร้างหลายอย่างที่เอื้อ ต่อความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำ �ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง บทความนี้ต้องการเสนอภาพความเหลื่อมล้ำ �ที่เป็นอยู่ในสังคมไทยปัจจุบัน ในเบื้องต้นจะ กำ �หนดให้ชัดก่อนว่า ความเหลื่อมล้ำ �ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้หมายถึงอะไร และความเหลื่อมล้ำ �ที่สำ �คัญ มีอยู่ในมิติใดของสังคมบ้าง จากนั้นจะชี้ให้เห็นว่าความเหลื่อมล้ำ �ในสังคมมีรากเหง้ามาจากอะไร โดย อิงแนวคิดที่คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ให้ไว้เป็นหลัก ถัดจากนั้นจะเสนอภาพของความเหลื่อมล้ำ � ในสังคมไทยบางมิติ ก่อนที่จะกล่าวถึงผลกระทบของความเหลื่อมล้ำ �ที่มีต่อสังคมในด้านต่าง ๆ ใน ตอนท้ายจะเสนอแนวคิดว่า สังคมน่าจะทำ �อะไรบ้างเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ � แต่ด้วยเหตุที่เรื่องความ เหลื่อมล้ำ �เป็นประเด็นที่มีความซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับประเด็นทางสังคมหลายด้าน อีกทั้งเป็น ปัญหาที่สะสมมานาน บทความนี้คงจะไม่สามารถครอบคลุมได้ทุกมิติ ความเหลื่อมล้ำ � ความแตกต่างกันของคนเราเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่ว่าในสังคมไหนก็ย่อมมีความแตกต่าง ทั้งนั้น ที่กล่าวนี้รวมถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่มด้วย ความแตกต่างที่เป็นเรื่อง ธรรมชาติเช่นนั้นมีอยู่ในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นในครอบครัว ชุมชน องค์กรหรือสถาบันเดียวกันก็ตาม ทั้งนี้ ไม่จำ �เป็นต้องกล่าวถึงความแตกต่างที่มีอยู่ในระหว่างชุมชน หรือระหว่างวัฒนธรรม แต่ความ แตกต่างเช่นนั้นไม่จัดว่าเป็นความเหลื่อมล้ำ � และไม่ใช่ประเด็นที่เป็นปัญหารุนแรงในทางสังคม ตราบ เท่าที่ไม่มีปัจจัยอื่นจากภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง อันจะทำ �ให้คน กลุ่ม หรือชุมชน ที่แตกต่างกันอยู่แล้ว นั้น มีความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงทรัพยากรอันเป็นฐานของการดำ �รงชีวิต ซึ่งในที่นี้หมายรวมถึง บรรดาทรัพยากรที่ทำ �ให้บุคคลดำ �รงอยู่ได้อย่างเต็มศักยภาพของเขา นับตั้งแต่ทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจัยการผลิต การศึกษา สุขภาพ ไปจนถึงเรื่องการมีส่วนร่วมในทางการเมือง การบริหารจัดการ ชุมชนท้องถิ่น การนับถือศาสนา และการธำ �รงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=