รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 235 ชาย โพธิสิตา ความเหลื่่อมล้ำ�และผลกระทบทางสังคม ๑ ๑ บรรยายในการประชุมสำ �นักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน วันพุธที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ๒ ภาคีสมาชิก สำ �นักธรรมศาสตร์และการเมือง ชาย โพธิสิตา ๒ บทคัดย่อ ความเหลื่อมล้ำ �อาจถือว่าเป็นพยาธิสภาพทางสังคม (social pathology) ชนิดหนึ่ง ที่บั่นทอนศักยภาพของบุคคลและสังคม ความไม่เท่าเทียมกันของคนในด้านรายได้ สิทธิ โอกาส อำ �นาจและศักดิ์ศรี เป็นที่มาสำ �คัญของความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงทรัพยากรอันเป็นฐาน ของการดำ �รงชีวิตในแทบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา การยุติธรรม หรือ สุขภาพ ก็ตาม ในบทความนี้ผู้เขียนแสดงหลักฐานที่บอกว่าในสังคมไทยมีความเหลื่อมล้ำ �สำ �คัญ ในการเข้าถึงทรัพยากรอันเป็นฐานของการดำ �รงชีวิตแทบทุกด้าน ขณะเดียวกันก็ชี้ให้เห็นว่า ความเหลื่อมล้ำ � โดยเฉพาะในด้านรายได้ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำ �คัญกับปัญหาทางสังคม และสุขภาพ โดยอ้างถึงข้อมูลจากการศึกษาที่เผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ ในตอนท้ายของบทความผู้ เขียนได้เสนอว่า ความเหลื่อมล้ำ �ทางโครงสร้างซึ่งมีระบบการรวมศูนย์อำ �นาจค้ำ �จุนอยู่ในปัจจุบัน คือสิ่งสำ �คัญที่ควรได้รับการแก้ไข เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ �อื่น ๆ ในสังคมไทย คำ �สำ �คัญ : ความเหลื่อมล้ำ �, ความเหลื่อมล้ำ �ทางโครงสร้าง, ผลกระทบทางสังคม, สังคมไทย คงไม่มีใครปฏิเสธว่า การทุ่มเทพัฒนาประเทศตลอดเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมาได้ทำ �ให้ ประเทศไทยมีความก้าวหน้าขึ้นในหลายด้าน กล่าวได้ว่า ถ้าเทียบกับทศวรรษแรก ๆ ที่เริ่มยุคแห่ง การพัฒนา ประเทศไทยวันนี้ได้เดินทางมาไกลพอสมควรแล้ว สังคมมี “ความเจริญ” มากขึ้น ไม่ว่าจะ เป็นด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สุขภาพ การสื่อสาร การขนส่ง และเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำ �คัญต่อชีวิต ของผู้คน กระนั้นก็ตาม ปัญหาสังคมทั้งหลายก็ยังมีอยู่ หนึ่งในจำ �นวนนั้นคือความเหลื่อมล้ำ � ซึ่งเป็น ปัญหาที่สะสมพอกพูนมายาวนาน ความเหลื่อมล้ำ �นั้น มักจะมาพร้อมกับความไม่เท่าเทียมซึ่งเป็นที่มาของความไม่เป็นธรรมใน สังคม ทั้ง ๒ อย่างนี้เปรียบเสมือน ๒ ด้านของสิ่งเดียวกัน และเป็นโรคร้ายชนิดหนึ่งที่บั่นทอนศักยภาพ ของปัจเจกชนและสังคม ทำ �ให้อ่อนแอ ขาดพลังที่จะก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน ความ เหลื่อมล้ำ �นั้นเป็น “พยาธิสภาพทางสังคม” (social pathology) อย่างหนึ่ง สังคมที่มีความเหลื่อม

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=