รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 230 การแพทย์แผนไทย : คุณค่าและความสำ �คัญทางพุทธปรัชญา และลัทธิหลังนวยุค อย่างไรก็ตาม ในสมัยปัจจุบัน นักคิดนักวิชาการหลายรายมีความคิดที่พัฒนาแตกต่างไปจาก นักคิดก่อนหน้านั้นโดยไม่ยึดกรอบความคิดตามจารีตและตามนักคิดชั้นครูที่เคยเสนอไว้ แต่แสวงหา แนวทางของตนเองและคิดนอกกรอบแนวคิดปรัชญาปัจจุบันที่กำ �ลังเป็นที่นิยมกันในโลกตะวันตก มีลักษณะเป็นปรัชญาหลังนวยุค (postmodern philosophy) มีลักษณะปฏิเสธปรัชญายุคโบราณ จนถึงยุคใหม่ ปฏิเสธความแน่นอนตายตัวของระบบความรู้และปฏิเสธข้อมูลตามคัมภีร์ นอกจากนี้ แนวคิดหลังนวยุคยังถือว่า เหตุผล (reason) ไม่สามารถหยั่งรู้ทุกสิ่งทุกอย่างได้ จึงไม่มีคุณค่า (value) และความหมาย (meaning) ใดที่ทุกคนจะต้องยอมรับร่วมกัน คนแต่ละคนมีคุณค่าและ ความหมายของตนเองและไม่ถูกกำ �หนดคุณค่าจากผู้อื่น (Magnus, 2009: 725) แนวคิดปรัชญาหลังนวยุคเป็นประโยชน์ต่อท่าทีของชาวตะวันตกในการเข้าใจและยอมรับ คุณค่าของการแพทย์แผนไทย ศาสตราจารย์ฟรีดริช วอลล์เนอร์ (Prof.Friedrich Wallner) แห่ง มหาวิทยาลัยเวียนนา ประเทศออสเตรีย และนักวิจัยด้านการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้แสดงปาฐกถานำ �ในการประชุมสัมมนาที่สถาบันซิกมันด์ ฟรอยด์ ออสเตรีย เมื่อกลาง พ.ศ. ๒๕๕๖ นี้ว่าตนเองไม่ไว้ใจวิธีคิดแบบเพลโตที่มองเห็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ มีแก่น แท้ร่วมกันหมดหรือเป็นสิ่งเฉพาะที่มีนามธรรมร่วมกัน เขาคิดว่าคนแต่ละคน สิ่งแต่ละสิ่งมีลักษณะ เฉพาะที่แตกต่างกัน การแพทย์แนวพุทธก็วางพื้นฐานอยู่บนความเชื่อและวัฒนธรรมทางพระพุทธ ศาสนาไม่จำ �เป็นต้องมีสถานะด้อยกว่าการแพทย์แผนตะวันตก การเข้าใจวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การยอมรับเอกลักษณ์ของผู้อื่น ทำ �ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยได้ผลสำ �เร็จมากขึ้น เมื่อการแพทย์ แผนตะวันตกไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ ผู้ป่วยก็สามารถเลือกใช้บริการจากการแพทย์แผนอื่น (Wallner, 2013) ศาสตราจารย์วอลล์เนอร์ได้สร้างคำ �ใหม่ขึ้นมา ๒ คำ � คือ สัจนิยมเชิงสร้าง (constructive realism) และการทำ �ให้เห็นความต่าง (strangification) ซึ่งผู้เข้าร่วมสัมมนานานาชาติเรื่อง “แนวคิด เรื่องสุขภาพและโรคจากมุมมองของวัฒนธรรมทั้งสี่” (The Concept of Health and Disease from the Viewpoint of Four Cultures) ได้อภิปรายกันในความหมายดังกล่าว ศาสตราจารย์โคจิ นากาโตกาวา (Prof.Koji Nakatogawa) จากมหาวิทยาลัยฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ได้อธิบายว่า “การทำ �ให้เห็นความต่าง” จะทำ �ให้ความหมายของทุกสิ่งขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละบุคคล คนแต่ละ คนสามารถสร้างแบบแผนของทฤษฎีขึ้นมาเองได้ เมื่อเอาความคิดของคนอื่น ๆ มาปะติดปะต่อกัน ก็จะกลายเป็นความจริงของทุกคน การสร้างความจริงขึ้นมาเช่นนี้ เรียกว่า สัจนิยมเชิงสร้าง (Nakatogawa, 2013) ผู้อภิปรายอีกท่านหนึ่งคือ อันเดรียส ชูลซ์ (Andreas Schulz) ซึ่งเป็นนักศึกษา ระดับปริญญาเอกทางปรัชญาของมหาวิทยาลัยเวียนนา ก็กล่าวยืนยันว่า ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าความจริง สูงสุด (absolute truth) ความจริง (truth) ขึ้นอยู่กับปริบททางวัฒนธรรมและสามารถเข้าใจได้โดย วิธีการของสัจนิยมเชิงสร้างและการทำ �ให้เห็นความต่าง (Schulz, 2013)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=