รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 229 ภัทรพร สิริกาญจน ทั้งทางกายและใจแบบองค์รวม ที่น่าสังเกตก็คือ แพทย์ทั้ง ๒ แนวนี้ ส่วนมากไม่ร่วมมือกันทำ �งาน ใน ปัจจุบัน แม้ชาวกัมพูชาส่วนมากจะรู้ว่ามีบริการทางการแพทย์แผนตะวันตก แต่ก็ยังพอใจในการใช้ บริการจากหมอพื้นบ้านหรือแพทย์แผนโบราณเพราะได้รับการดูแลทางจิตใจด้วย เช่น ให้คำ �ปรึกษา เรื่องครอบครัว แก้ปัญหาทางใจ และให้คำ �แนะนำ �เรื่องชีวิตประจำ �วันของชาวบ้าน (Ovesen and Trankell, 2011 : 1-15) ๕. การแพทย์แผนไทยกับลัทธิหลังนวยุค การที่แพทย์แผนตะวันตกให้ความสำ �คัญต่ออาการเจ็บป่วยเฉพาะที่ เช่น ป่วยที่กายก็ รักษาเฉพาะกาย ไม่สนใจเรื่องความคิดจิตใจของผู้ป่วยอาจเป็นเพราะอิทธิพลของความคิดทางปรัชญา และทางวิทยาศาสตร์ในช่วงสมัยใหม่ที่แยกกายและจิตออกจากกัน และส่งเสริมให้มนุษย์เป็นนาย ของธรรมชาติ นักปรัชญาตะวันตกบางคนที่มีส่วนนำ �เสนอแนวคิดดังกล่าว เช่น เรอเน เดการ์ต (René Descartes, ค.ศ. ๑๕๙๖–๑๖๕๐) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสเชื้อสายขุนนาง มีทรรศนะว่า จิตและกายเป็นสิ่งที่แตกต่างกัน ร่างกายเป็นเครื่องมือของจิต และจิตหรือวิญญาณเป็นแบบ (Form) ของกาย กายจึงทำ �หน้าที่ไปตามกำ �กับของจิต (French, 1997 : 95) เดการ์ตเขียนไว้ในงาน เขียน De Homine (ค.ศ. ๑๖๖๒) ว่าร่างกายก็เหมือนกลไกการทำ �งานของนาฬิกาที่ทำ �งานไปตาม กฎเกณฑ์ทางจักรกลของมัน (Tansey, 1997 : 124) จะเห็นได้ว่า การที่เรารีบชักเท้าออกจากเปลว ไฟตามสัญชาตญาณนั้น บ่งบอกถึงกลไกตามธรรมชาติของร่างกายซึ่งเมื่อความร้อนกระทบผิว ทำ �ให้ เกิดสัญญาณความเจ็บปวดทางร่างกายส่งไปยังสมอง เราจึงปกป้องตนเองได้ แนวคิดดังกล่าว ได้สร้างแรงบันดาลใจให้เซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton ค.ศ. ๑๖๔๒–๑๗๑๖) และนักคิด อื่น ๆ เกิดแนวคิดทางการแพทย์ที่มองเห็นร่างกายเป็นเพียงเครื่องจักร (Porter, 1997 : 1462) นอกจากนี้ นักคิดนักปรัชญาบางท่านก็ยังมองเห็นสภาวะทางรูปธรรมแบบจักรกลของธรรมชาติที่ มนุษย์สามารถควบคุมได้ถ้าเข้าใจระบบจักรกลของมัน เช่น ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon, ค.ศ. ๑๕๖๑–๑๖๒๖) นักปรัชญา นักเขียน และนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้ให้ความสำ �คัญต่อ ความรู้และการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เบคอนมองเห็นธรรมชาติในเชิงรูปธรรมและปราศจาก ความเร้นลับ มนุษย์สามารถเข้าใจกฎธรรมชาติซึ่งเป็นกฎควบคุมการเกิดขึ้นและดำ �เนินไปของวัตถุ ต่าง ๆ ได้ด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อมนุษย์เข้าใจกฎธรรมชาติ มนุษย์ก็จะสามารถควบคุม ธรรมชาติได้และใช้ประโยชน์จากธรรมชาติได้ เช่น เมื่อมนุษย์รู้ว่าน้ำ �ที่ถูกความร้อนจะระเหยกลาย เป็นไอ มนุษย์ก็จะสามารถสร้างเครื่องใช้ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังของไอน้ำ �ได้ เช่น เครื่องจักรไอน้ำ �ในรถ และในโรงงานอุตสาหกรรม (Gutting, 2009: 68) ความเจริญทางวิทยาศาสตร์ในยุคใหม่ตั้งแต่ คริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ เป็นต้นมา ได้ส่งผลให้การแพทย์แผนตะวันตกแยกกายกับจิตออกจากกันและ รักษาความเจ็บป่วยที่ร่างกายเฉพาะที่เกิดอาการเป็นหลัก

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=