รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 228 การแพทย์แผนไทย : คุณค่าและความสำ �คัญทางพุทธปรัชญา และลัทธิหลังนวยุค ทางการแพทย์ครอบคลุมหลายเรื่อง เช่น เรื่องการทำ �ความสะอาดฟัน การควบคุมอาหาร การล้างพิษ และการบริหารร่างกาย โดยใช้วิธีการที่เน้นเรื่องความพอดีและทางสายกลาง ทั้งการแพทย์แผนจีน และการแพทย์แผนอายุรเวทได้มีส่วนเข้ามาผสมผสานอยู่ในการแพทย์แผนไทย เช่น การฝังเข็มและ การบริหารร่างกายแบบโยคะ (Wujastyk, 1997 : 756-758) การแพทย์แผนจีนและการแพทย์แผนอายุรเวทมีอิทธิพลอย่างสูงต่อประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย เช่นในประเทศกัมพูชา กระทรวงสาธารณสุขมีแผนกการแพทย์แผนโบราณซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ แต่ก็มีบทบาทเพียงทำ �งานวิจัยเท่านั้น ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในกระทรวงที่ควบคุมนโยบายยังคง เป็นพวกนิยมการแพทย์แผนตะวันตก ประเทศกัมพูชาเริ่มรับความเจริญทางการแพทย์แผนตะวัน ตกเมื่อตกเป็นอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศส ประมาณ ค.ศ. ๑๙๐๕ โดยแพทย์ชุดแรกเป็นทหาร หลังจากนั้น จึงเริ่มรับสมัครแพทย์ที่เป็นพลเรือนเข้าทำ �งานในโรงพยาบาลของรัฐตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๐๗ เป็นต้นมา นักเรียนรุ่นแรก ๆ ของกัมพูชาที่ศึกษาทางการแพทย์ การพยาบาลและเภสัชกรรมก็สำ �เร็จ การศึกษาจากประเทศฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม แม้ประเทศไทยและประเทศกัมพูชาจะเป็นประเทศในกลุ่มอาเซียน (ASEAN) ด้วยกัน แต่สถานภาพและบทบาททางการแพทย์แผนโบราณ (traditional medicine) ก็แตกต่าง กัน ในขณะที่ประเทศไทยส่งเสริมการแพทย์แผนไทยให้บริการประชาชนได้อย่างกว้างขวางและ เป็นการแพทย์ทางเลือกของสังคมไทย ตลอดจนมีการเปิดหลักสูตรการแพทย์แผนไทยในระดับ อุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น การแพทย์ แผนโบราณของประเทศกัมพูชายังมีบทบาทเพียงหน่วยงานวิจัย นอกจากนั้น การแพทย์ที่แพร่หลาย ในหมู่ประชาชนทั่วไปยังมีลักษณะเป็นการแพทย์พื้นบ้าน เนื่องจากชาวกัมพูชาส่วนใหญ่เชื่อโชคลาง และอำ �นาจของภูตผี เมื่อเกิดเจ็บป่วย ก็เข้าใจว่า ภูตผีปีศาจและวิญญาณบรรพบุรุษดลบันดาลให้เป็น ไปเพราะไม่พอใจที่ตนล่วงละเมิดจารีตทางสังคมและทางจริยธรรม ในการรักษาผู้ป่วย หมอพื้นบ้าน จะทำ �หน้าที่เป็นคนทรงติดต่อกับภูตหรือวิญญาณที่เป็นต้นเหตุเพื่อหาสาเหตุที่ทำ �ร้ายผู้ป่วย “หมอ” หรือ “ครูเขมร” และผู้ป่วยจะต้องร่วมมือกันต่อรองกับภูตโดย “ครูเขมร” ทำ �หน้าที่เป็นสื่อกลางใน การต่อรองและทำ �ตามความต้องการของภูตเพื่อให้ผู้ป่วยหายเป็นปรกติ “ครูเขมร” อาจเป็นฆราวาส หรือพระภิกษุก็ได้ วิธีที่ใช้ในการรักษาพยาบาลอาจเป็นวิธีเข้าทรง บวงสรวง หรือประพรมน้ำ �มนต์ก็ได้ ความแตกต่างระหว่างหมอพื้นบ้านกับแพทย์แผนตะวันตก เห็นได้จากคำ �ว่า “ครู” และ “แพทย์” ที่ ใช้ในประเทศกัมพูชา “ครู” มีความหมายในเชิงศีลธรรมว่า เป็นผู้มีจิตสำ �นึกที่ดี เป็นหมอที่ประกอบ พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ในการรักษาผู้ป่วยและได้รับการเคารพนับถือทางสังคม ในขณะที่ “แพทย์” เป็น เพียงอาชีพหนึ่งที่หวังประโยชน์จากวิชาชีพเท่านั้น ในประเทศกัมพูชา แพทย์แผนตะวันตกใส่ใจและ รักษาผู้ป่วยทางร่างกายเป็นหลัก ในขณะที่แพทย์แผนโบราณและหมอพื้นบ้าน (ครูเขมร) รักษาผู้ป่วย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=