รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 227 ภัทรพร สิริกาญจน ป่วยเกินเหตุ ส่วนผู้ป่วยที่ดี และรักษาให้หายป่วยได้ง่ายจะมีลักษณะตรงกันข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, เล่ม ๕, ๒๕๓๙ : ๒๔๑–๒๔๒) สำ �หรับผู้ที่ทำ �หน้าที่รักษาพยาบาลผู้ ป่วยหรือแพทย์ก็ต้องมีคุณสมบัติอันพึงประสงค์ ได้แก่ ๑) สามารถจัดยาให้ได้เหมาะสม ๒) รู้จักของ แสลงและไม่แสลงต่อความเจ็บป่วย จึงสามารถจัดของที่ไม่แสลงให้ผู้ป่วยได้และนำ �ของแสลงออกไป ๓) รักษาพยาบาลผู้ป่วยด้วยจิตเมตตา ไม่ใช่เพราะเห็นแก่สิ่งที่ได้รับเป็นสินจ้างรางวัล ๔) ไม่รังเกียจ สิ่งปฏิกูลของผู้ป่วยและสามารถนำ �สิ่งปฏิกูลไปทิ้งได้ ๕) สามารถพูดชักชวนผู้ป่วยให้เข้าใจ ปฏิบัติ ตาม มีกำ �ลังใจ และสบายใจได้ด้วยข้อคิดคำ �สอนเป็นครั้งคราว ส่วนผู้ที่ไม่เหมาะที่จะรักษาพยาบาล ผู้อื่นจะมีลักษณะตรงข้ามกัน (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, เล่ม ๕, ๒๕๓๙ : ๒๔๒–๒๔๓) คำ � ตรัสสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับผู้ป่วยและผู้รักษาพยาบาลเป็นคำ �ตรัสสอนพระสงฆ์สาวกที่ต้อง มาอยู่ร่วมกัน โดยจากญาติมิตรที่คอยดูแล จึงต้องดูแลรักษาพยาบาลกันเองด้วยคุณธรรมและหลัก ปฏิบัติดังกล่าว มิฉะนั้นก็จะปฏิบัติธรรมและกิจของสงฆ์ได้อย่างยากลำ �บาก นอกจากนี้จะเห็นได้ ว่า คุณสมบัติที่ดีของผู้รักษาพยาบาลและผู้ป่วย ต้องอาศัยคุณธรรมหลายประการ เช่น ความเมตตา กรุณา ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความเสียสละ ความอดทน และความเชื่อมั่นศรัทธา การรักษาสุขภาพและการบำ �บัดโรคจะได้ผลอย่างสมบูรณ์ เมื่อมนุษย์มองเห็นตนเองว่าเป็น ส่วนหนึ่งของธรรมชาติและต้องอาศัยพึ่งพิงธรรมชาติ ความสำ �นึกดังกล่าวทำ �ให้มนุษย์ต้องปรับตัว ตามธรรมชาติ เช่น ตามฤดูกาล ตามธาตุ ๔ และตามสิ่งแวดล้อมของตน การแพทย์แผนไทย การ แพทย์แผนจีน และการแพทย์แผนอายุรเวทของอินเดียมีความเป็นธรรมชาตินิยมและให้ความสำ �คัญ ต่อการรักษาความเจ็บป่วยแบบองค์รวมเช่นเดียวกัน ทฤษฎีการแพทย์แผนจีนถือว่าร่างกายมนุษย์ คือหน่วยย่อย (microcosm) ของโลกธรรมชาติและโลกทางสังคมซึ่งเป็นหน่วยใหญ่ (macrocosm) สุขภาพขึ้นอยู่กับความกลมกลืนกันในร่างกายมนุษย์ ความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม และความ กลมกลืนกับระเบียบทางกฎศีลธรรม การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงจึงต้องทำ �ตัวให้กลมกลืนกับสิ่ง ต่าง ๆ ดังกล่าวและแพทย์ก็ต้องมีความรู้ทั้งเรื่องปรัชญาเกี่ยวกับธรรมชาติและเทคนิคในการรักษา พยาบาล การแพทย์แผนจีนนิยมใช้ยาและสมุนไพรต่าง ๆ ในการรักษาโรคมากที่สุด ในยุคแรก ๆ สมุนไพรและยาเป็นสิ่งนำ �เข้าจากดินแดนภายนอก เช่น โสมมาจากเกาหลี ชะมดเช็ด (musk) มาจาก ทิเบต การบูรมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยางไม้หอมมาจากเปอร์เซีย (อิหร่าน) การรักษา พยาบาลอาศัยสิ่งธรรมชาติเป็นหลักและรักษากายใจไปพร้อม ๆ กัน เพราะเห็นว่ามีธรรมชาติเชื่อม โยงกัน ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ มีคณะมิชชันนารีนำ �คริสต์ศาสนาเข้ามาเผยแผ่ในประเทศจีน จึงทำ �ให้จีนเริ่มรู้จักการแพทย์แผนตะวันตกและนิยมการแพทย์แผนดังกล่าวควบคู่กับการแพทย์แผน จีนเป็นต้นมา (Bray, 1997 : 728–745) ส่วนคัมภีร์อายุรเวทซึ่งเป็นที่มาของการแพทย์แผนอินเดีย ก็มีข้อมูลเรื่องสมุนไพรและยารักษาโรคต่าง ๆ คล้ายกับคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถา มีเนื้อหา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=