รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 226 การแพทย์แผนไทย : คุณค่าและความสำ �คัญทางพุทธปรัชญา และลัทธิหลังนวยุค ราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ได้จัดบริการทางการแพทย์ออกเยี่ยมไข้ผู้ป่วยในจังหวัดขอนแก่น โดยร่วมมือกับวัดและพระภิกษุเพื่อบรรยายธรรมและสอนการปฏิบัติกรรมฐานเพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพ จิตแข็งแรงและเพิ่มภูมิต้านทานโรค อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า แม้หลักการทางพระพุทธศาสนา ตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎกจะเน้นการใช้ปัญญาเป็นหลักในการเข้าใจและปฏิบัติตามคำ �สอนของ พระพุทธศาสนา แต่ชาวบ้านทั่วไปยังอาศัยความศรัทธาเป็นสำ �คัญ ความเลื่อมใสศรัทธาในอำ �นาจ เหนือธรรมชาติและความศักดิ์สิทธิ์ของพระสงฆ์ที่ประพรมน้ำ �มนต์หรือประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย จึงกลายเป็นปัจจัยสำ �คัญที่ทำ �ให้ชาวบ้านเข้าใจว่า สามารถรักษาโรคของ ตนให้หายได้ ไม่ใช่ความสามารถของพระสงฆ์ในการชี้ข้อธรรมะหรือการปฏิบัติตนเพื่อให้หายจาก ความเจ็บป่วยตามหลักพระพุทธศาสนา ๔. การรักษาสุขภาพและการบำ �บัดโรคแบบองค์รวม การแพทย์แผนไทยส่งเสริมแนวคิดที่ว่า การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงย่อมดีกว่าการได้รับ การรักษาพยาบาลอย่างดี การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเป็นไปได้จากการรักษาธาตุ ๔ ให้สมดุลโดย การกินอยู่ให้ถูกต้องเหมาะสม เช่น ถ้าระบบการย่อยอาหารบกพร่อง แสดงว่า ธาตุ ๔ ไม่สมดุล ธาตุ ไฟอ่อนต้องแก้ด้วยการปรับธาตุไฟโดยการรับประทานอาหารร้อนหรือพืชผักที่มีรสเผ็ด ได้แก่ ขิง พริก และใบโหระพา หรือถ้าเป็นไข้ก็แสดงว่าธาตุไฟแรงเกินไป ต้องงดเว้นอาหารบางประเภท เช่น ข้าวเหนียว ทุเรียน (Ratanasarn, 1989 : 261-265) นอกจากการปรับธาตุ ๔ ให้สมดุลแล้ว เราควรรักษาความสมดุลทางจิตด้วย ทั้งแพทย์ พยาบาล และผู้ป่วย จำ �เป็นต้องร่วมมือกันทำ �ให้จิตใจของผู้ป่วยมีความปรกติและมีความสมดุลกับ ร่างกายเพื่อให้เกิดการรักษาสุขภาพแบบองค์รวม (holistic) กล่าวคือ รักษากายและใจไปพร้อม ๆ กันและให้เกิดความสมดุลกัน การรักษาสุขภาพแบบองค์รวมนี้ต้องอาศัยความสัมพันธ์ที่พอดีระหว่าง องค์ประกอบต่าง ๆ ทั้งทางกายและทางใจ ต้องอาศัยหลักมัชฌิมาปฏิปทา คือ ความพอดีในการ คิด การพูด และการกระทำ � เป็นทางสายกลางที่จะรู้ได้ เข้าใจได้ ด้วยการใช้ปัญญา [พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), ๒๕๔๐ : ๒๘–๓๑] นอกจากนี้ ยังต้องอาศัยความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์หรือผู้ รักษาพยาบาลกับผู้ป่วยอีกด้วย ในพระวินัยแห่งพระไตรปิฎก มีข้อความที่แสดงให้เห็นการรักษาสุขภาพและการบำ �บัดโรค แบบองค์รวม ผู้รักษาพยาบาลต้องดูแลเอาใจใส่ทั้งกายและใจของผู้ป่วย และผู้ป่วยเองก็ต้องให้ความ ร่วมมือในกระบวนการรักษาพยาบาลอย่างเต็มที่ ดังจะเห็นได้จากพระดำ �รัสของพระพุทธเจ้าต่อพระ สงฆ์สาวกว่า ผู้ที่รักษาพยาบาลให้หายป่วยได้ยากคือผู้ที่มีลักษณะดังนี้ ๑) ไม่ทำ �กายใจให้สบาย ๒) ไม่รู้จักประมาณในการทำ �ตนให้สบาย ๓) ไม่รับประทานยา ๔) ไม่บอกอาการเจ็บไข้ได้ป่วยแก่ผู้รักษา พยาบาลตามความเป็นจริง ๕) ไม่อดทนต่อความเจ็บไข้ได้ป่วยของตนและรู้สึกเดือดร้อนต่อความเจ็บ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=