รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 225 ภัทรพร สิริกาญจน ในการรักษาพยาบาลบางกรณี อาจใช้การบำ �บัดวิธีอื่น ๆ ควบคู่ไปกับการใช้สมุนไพรด้วย เช่น การนวด การใช้จิตบำ �บัด และการอาศัยความเชื่อศรัทธา การแพทย์แผนไทยไม่นิยมใช้การผ่าตัด เพราะไม่ใช่วิถีธรรมชาติ ๓. ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต การแพทย์แผนไทยมีหลักการอย่างหนึ่งว่า ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับใจเป็นสาเหตุของ ความมีสุขภาพดีและความเจ็บป่วยของบุคคล หลักการดังกล่าวมาจากคำ �สอนทางพระพุทธศาสนา ดังที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนพระสงฆ์สาวกว่า ภิกษุทั้งหลายไม่เศร้าโศกถึงอดีต ไม่คิดถึงอนาคต กำ �หนดอยู่กับปัจจุบัน เพราะเหตุนั้นผิวพรรณจึงผ่องใส เพราะคิดถึงอนาคต เศร้าโศกถึงอดีต ด้วยเหตุนี้ ภิกษุทั้งหลายผู้เขลาจึงซูบซีด เหมือนต้นอ้อสดที่ถูกถอนขึ้นแล้ว ฉะนั้น (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, เล่ม ๑๕, ๒๕๓๙ : ๑๐) ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับใจมีลักษณะแปรตามกัน กล่าวคือ ถ้าสบายใจ กายก็แจ่มใส ถ้า กายแข็งแรง จิตใจก็สดชื่น ไม่เคร่งเครียด ถ้ากายและใจไม่สบาย ผลที่เกิดขึ้นก็เป็นไปในทางลบต่อกัน และกัน อย่างไรก็ตาม พระพุทธศาสนาให้ความสำ �คัญต่อใจเป็นหลักและกายเป็นรอง จึงเน้นเรื่องการ รักษาใจให้มีปรกติสุขและแข็งแรงเพื่อประคองร่างกายให้แปรตาม ดังที่พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้กล่าวยืนยันว่า “โรคกายหลายอย่าง เป็นเรื่องของกายจิตสัมพันธ์ เกิดจากความแปรปรวน ทางจิตใจ เช่น ความมักโกรธบ้าง ความกลุ้มกังวลบ้าง ทำ �ให้เกิดโรคปวดศีรษะบางอย่าง หรือโรคแผล ในกระเพาะอาหารอาจเกิดได้ เมื่อทำ �จิตใจให้ดีด้วยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่งก็ช่วยแก้ไขโรคเหล่านั้นได้” [พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), ๒๕๕๕ : ๗๘๙] การทำ �จิตใจให้ดีเพื่อให้หายหรือทุเลาจากโรคทางกายนั้น อาจสรุปได้ตามหลักการทาง พระพุทธศาสนา ๒ วิธี คือ (๑) การพิจารณาด้วยปัญญาให้เห็นความเปลี่ยนแปลงทางกายเป็นเรื่อง ธรรมดาเพื่อให้เกิดความเข้าใจและไม่ทุกข์ใจจนเกินเหตุ (๒) การทำ �อานาปานสติภาวนาหรือการ ปฏิบัติกรรมฐานเพื่อให้จิตสงบ ไม่ทุรนทุราย และมีสติ ดังจะเห็นได้จากกรณีของพระคิริมานนท์ดังที่ ได้กล่าวมาแล้ว และในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยบางแห่งของไทยที่มีการเรียนการสอนด้านการแพทย์ ได้ ประยุกต์ความรู้จากพระพุทธศาสนากับการบริการทางการแพทย์ เช่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ-
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=