รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 224 การแพทย์แผนไทย : คุณค่าและความสำ �คัญทางพุทธปรัชญา และลัทธิหลังนวยุค ศาสตร์ที่ไม่มีการสืบทอดกันในการแพทย์แผนโบราณตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนต้องอาศัย ความสามารถพิเศษเฉพาะบุคคล ในการให้บริการการแพทย์แผนไทยคำ �นึงถึงธรรมชาติแวดล้อมและ ตัวยาจากธรรมชาติในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย กล่าวคือ มนุษย์มีธรรมชาติอันประกอบไปด้วยธาตุ ๔ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล อายุ ภูมิประเทศในการอยู่อาศัย เป็นต้น ในฤดูร้อน (ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ � เดือน ๔ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ � เดือน ๘) คนทั่วไปจะป่วยเพราะความร้อนและความชื้น ฤดูฝน (ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ � เดือน ๘ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ � เดือน ๑๒) คนทั่วไปจะป่วยเพราะความเย็นและความชื้น และฤดู หนาว (ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ � เดือน ๑๒ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ � เดือน ๔) คนทั่วไปจะป่วยเพราะความหนาวและ ความแห้งของอากาศ นอกจากนี้ บุคคลในวัยต่าง ๆ ก็มีโรคที่เกิดประจำ �ธาตุของตน ในวัยเด็ก (อายุ แรกเกิด ถึง ๑๖ ปี) มักเจ็บป่วยเพราะธาตุน้ำ �เป็นเหตุ เนื่องจากความหนาว ทำ �ให้มีเสมหะมาก ในวัย กลางคน (อายุ ๑๖ ปี ถึง ๓๒ ปี) มักป่วยเพราะธาตุไฟผิดปรกติ เนื่องจากความร้อน และในวัยชรา (อายุ ๓๓ ปี จนสิ้นชีวิต) มักป่วยด้วยธาตุลมผิดปรกติเพราะความเย็น ส่วนผู้ที่อาศัยอยู่ในภูมิประเทศ ต่าง ๆ ก็มีโรคประจำ �ธาตุของตน กล่าวคือ ผู้ที่เกิดและอาศัยอยู่ในที่สูง เช่น ชาวเขา ถือว่าอยู่ในที่ร้อน จึงมักเป็นโรคที่ธาตุไฟของตน เช่น อาหารไม่ย่อยและเป็นไข้ ผู้ที่เกิดและอาศัยอยู่ในที่อบอุ่น ใกล้ แม่น้ำ �ลำ �ธาร มักเป็นโรคที่ธาตุน้ำ � เช่น โรคเลือดและโรคหวัด ส่วนผู้ที่เกิดและอาศัยอยู่ในที่เย็น ที่มีฝน ตกชื้นแฉะ ก็มักเป็นโรคเกี่ยวกับธาตุลม เช่น โรคท้องอืด ท้องเฟ้อและโรคความดัน คนกลุ่มสุดท้าย ที่เกิดและอาศัยอยู่ในที่ชื้นแฉะชายทะเล ถือว่าอยู่ในเขตหนาวมักเป็นโรคที่ธาตุดิน เช่น โรคหัวใจ และโรคกระดูก (มาโนช วามานนท์ และแพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ๒๕๓๗ : ๔-๖) การรักษา พยาบาลโรคภัยไข้เจ็บดังกล่าวก็ใช้สิ่งธรรมชาติ เช่น สมุนไพร และไขสัตว์ ซึ่งมีปรากฏอยู่แล้วใน พระไตรปิฎก ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระสงฆ์สาวกว่า “เภสัช ๕ นี้ได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำ �มัน น้ำ �ผึ้ง น้ำ �อ้อย เป็นทั้งตัวยาและชาวโลกถือกันว่าเป็นยาทั้งให้ประโยชน์ทางโภชนาหารและไม่เป็นอาหาร หยาบ” (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, เล่ม ๕, ๒๕๓๙ : ๔๔) นอกจากนี้ ก็ทรงระบุยาที่เป็นไขสัตว์ หรือมันเหลวจากสัตว์ ได้แก่ หมี ปลา หมู และลา เครื่องยาที่เป็นสมุนไพรที่พระพุทธเจ้าทรงกำ �หนด ไว้ มีทั้งรากไม้ น้ำ �ฝาด (น้ำ �ที่ได้จากการต้มเครื่องยา) ใบไม้ ผลไม้ ยางไม้ และเกลือ รากไม้ที่กล่าว ถึง เช่น ขมิ้น ขิง ข่า และแห้วหมู น้ำ �ฝาด เช่น น้ำ �ฝาดสะเดาและน้ำ �ฝาดบอระเพ็ด ใบไม้ เช่น ใบ สะเดาและใบแมงลัก ผลไม้ เช่น สมอไทยและมะขามป้อม ยางไม้ เช่น กำ �ยานและเกลือ เช่น เกลือ สมุทรและเกลือสินเธาว์ (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, เล่ม ๕, ๒๕๓๙ : ๔๖–๔๘) ตำ �รับยาสมุนไพร ไทยก็ใช้สมุนไพรหลายชนิดตามที่ระบุไว้ในพระไตรปิฎกเช่น ขิงช่วยขับลม บำ �รุงลำ �ไส้ สมอไทยใช้ เป็นยาระบาย บอระเพ็ดและเกลือสินเธาว์ช่วยลดไข้ (มาโนช วามานนท์ และแพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ๒๕๓๗ : ๔๑–๔๓)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=