รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 223 ภัทรพร สิริกาญจน จนตำ �รับยาที่ใช้รักษาโรค เป็นต้น และ คัมภีร์โรคนิทาน มีข้อความว่า หมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นผู้แต่ง มีเนื้อหากล่าวถึงสาเหตุของการเกิดโรคซึ่งได้แก่ความผิดปรกติของธาตุดิน น้ำ � ลม ไฟ อิทธิพลของ ฤดูกาลและการใช้ยารักษาโรค (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๒ : ๑๐๓–๑๐๗) หมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นบุตรของหญิงโสเภณี นามว่าสาลวดี เมื่อตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจและ มีบุตร จึงให้หญิงรับใช้นำ �ทารกไปทิ้งไว้ที่กองขยะ ต่อมาเจ้าชายอภัย พระราชบุตรของพระเจ้า พิมพิสารได้ไปพบเข้า จึงเก็บมาเลี้ยงดูและตั้งชื่อว่า “ชีวก” (ยังมีชีวิตอยู่) และตามด้วยคำ �ว่า “โกมาร- ภัจ/โกมารภัจจ์” (กุมาร/เจ้าชายเลี้ยงไว้) เมื่อเติบโตขึ้น ชีวกโกมารภัจจ์ได้ลอบเดินทางไปกรุงตักกสิลา เพื่อศึกษาศิลปวิทยาการจากอาจารย์แพทย์ หลังจากศึกษาได้ ๗ ปีก็ยังไม่จบ จึงไปถามอาจารย์ว่า เหตุใดยังเรียนไม่จบ อาจารย์จึงให้ชีวกโกมารภัจจ์ เอาเสียมไปขุดหาพืชที่ไม่ใช่ยาที่ขึ้นอยู่รอบ กรุงตักกศิลาในรัศมี ๑ โยชน์ (ประมาณ ๑๖ กิโลเมตร) มาให้อาจารย์ ปรากฏว่าท่านหาไม่ได้เพราะ พืชทุกชนิดเป็นยาได้หมด อาจารย์จึงกล่าวว่า ท่านจบการศึกษาแล้ว (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, เล่ม ๕, ๒๕๓๙ : ๑๘๐ – ๑๘๒) ในชีวิตการทำ �งานของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ท่านมีความสามารถในการรักษาผู้ป่วยให้หาย จากโรคหลายราย เช่น การรักษาภรรยาเศรษฐีในกรุงสาเกตที่เป็นโรคปวดศีรษะอยู่ ๗ ปี ด้วยการผสม เนยใสกับตัวยาสมุนไพรแล้วให้นัตถ์ยาเพียงครั้งเดียวก็หาย การรักษาพระเจ้าปัชโชตแห่งกรุงอุชเชนีผู้ ป่วยเป็นโรคผอมเหลืองด้วยเนยใส และการรักษาอาการท้องผูกของพระพุทธเจ้าด้วยการอบก้านบัว ด้วยตัวยาต่าง ๆ แล้วให้พระองค์สูดดม นอกจากนี้ ในคัมภีร์พระไตรปิฎก ส่วนที่เป็นพระวินัย ยังมี ข้อความกล่าวถึงบทบาทการผ่าตัดผู้ป่วยของหมอชีวกโกมารภัจจ์ เช่น กรณีการรักษาเศรษฐีของชาว กรุงราชคฤห์ผู้ป่วยเป็นโรคปวดศีรษะ หมอชีวกโกมารภัจจ์ได้ทำ �การรักษาโดยให้มัดเศรษฐีไว้บนเตียง แล้วถลกหนังศีรษะเปิดรอยประสานกะโหลกเพื่อนำ �สัตว์ที่มีชีวิตออกมา ๒ ตัว ให้ชาวบ้านดู พร้อม ทั้งแจ้งว่าสัตว์ทั้ง ๒ ตัวนี้กำ �ลังกัดกินสมองของเศรษฐีซึ่งจะมีผลให้เศรษฐีเสียชีวิตได้ในเร็ววัน จากนั้น หมอชีวกโกมารภัจจ์ก็ได้ปิดแนวประสานกะโหลก เย็บหนังศีรษะปิดตามเดิม และทายาสมานแผล ให้ ส่วนอีกกรณีหนึ่งท่านได้รักษาบุตรเศรษฐีชาวกรุงพาราณสี ผู้ป่วยเป็นโรคลำ �ไส้บิด ทำ �ให้อาหาร ไม่ย่อยและขับถ่ายไม่สะดวกโดยการผ่าตัดเนื้องอกในลำ �ไส้ออก ทำ �ให้บุตรเศรษฐีหายป่วยเป็นปรกติ (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, เล่ม ๕, ๒๕๓๙ : ๑๘๒–๑๙๗) อย่างไรก็ตาม แม้ว่าข้อความในคัมภีร์พุทธศาสนาจะกล่าวถึงการแพทย์ที่ใช้การผ่าตัดใน การรักษาโรค แต่การแพทย์แผนไทยที่อิงอาศัยแนวคิดหลักจากพระพุทธศาสนาและถือว่าหมอชีวก โกมารภัจจ์เป็นบรมครูของการแพทย์แผนไทยก็ไม่ให้บริการด้านการผ่าตัด อาจเป็นเพราะการ ผ่าตัดที่กล่าวถึงในคัมภีร์พุทธศาสนายังไม่มีความชัดเจนในด้านเทคนิควิธีเพียงพอและการผ่าตัดเป็น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=