รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 222 การแพทย์แผนไทย : คุณค่าและความสำ �คัญทางพุทธปรัชญา และลัทธิหลังนวยุค ไม่มีตัวตนให้ยึดถือได้ (๓) อสุภสัญญา พิจารณาว่า ร่างกายที่ประกอบด้วยอวัยวะและเลือดเนื้อต่าง ๆ เป็นสิ่งไม่ งาม (๔) อาทีนวสัญญา พิจารณาว่า ร่างกายมีโรคภัยไข้เจ็บมากและมีเหตุที่ทำ �ให้เจ็บป่วยหลาย ประการ รวมทั้งเหตุจากวิบากกรรม จึงมีแต่ทุกข์และเป็นโทษ (๕) ปหานสัญญา พิจารณาว่า การคิดเรื่องอกุศลบาปต่าง ๆ ไม่ดี ควรละเลิกเสีย (๖) วิราคสัญญา พิจารณาความสงบทางกายและทางใจทำ �ให้สิ้นกิเลสตัณหา (๗) นิโรธสัญญา พิจารณาให้เห็นความดับทุกข์ คือนิพพาน (๘) สัพพโลเก อนภิรตสัญญา พิจารณาให้เห็นความไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง (๙) สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา พิจารณาให้เห็นความไม่น่าปรารถนาในสังขาร (สิ่งที่เกิด จากเหตุปัจจัย) ทั้งปวง (๑๐) อานาปานสติ พิจารณาลมหายใจเข้าออกอย่างมีสติ เมื่อพระอานนท์ได้นำ �พระดำ �รัสเรื่องสัญญา ๑๐ ไปแจ้งแก่พระคิริมานนท์ อาการเจ็บป่วย ของพระคิริมานนท์ก็สงบระงับและพระคิริมานนท์ก็หายจากความเจ็บป่วยได้เด็ดขาด (มหาจุฬา- ลงกรณราชวิทยาลัย, เล่ม ๒๔, ๒๕๓๙ : ๑๒๘-๑๓๓) เรื่องราวของพระคิริมานนท์ให้แง่คิดว่า ชีวิต ของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตายเต็มไปด้วยความทุกข์ เมื่อร่างกายมีทุกข์ก็ไม่ควรให้จิตใจทุกข์ไปด้วย การ พิจารณาปรากฏการณ์ทั้งปวงของชีวิตด้วยปัญญาจะทำ �ให้เรามองเห็นความจริงของชีวิตและโลกตาม ธรรมชาติและมีสุขภาพจิตดี แม้ร่างกายจะเจ็บป่วย การมีสุขภาพจิตแข็งแรงและเข้าใจความจริงของ ปรากฏการณ์ทั้งปวงก็จะสามารถค้ำ �จุนร่างกายให้หายจากความเจ็บป่วยได้ และหากจะต้องเสียชีวิต ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีและเข้าใจธรรมชาติของชีวิตอย่างถ่องแท้ ก็จะสามารถยอมรับความตายได้อย่าง สงบและเป็นสุข ๕) การดูแลสุขภาพและการรักษาพยาบาลด้วยสมุนไพร การแพทย์แผนไทยได้แนวคิดในการรักษาพยาบาลมาจากเรื่องราวในคัมภีร์พระไตรปิฎก และคัมภีร์ที่เกี่ยวเนื่อง คัมภีร์หรือตำ �ราการแพทย์แผนไทยหลายเรื่องอ้างอิงผลงานของแพทย์ประจำ � พระองค์ของพระพุทธเจ้าคือ หมอชีวกโกมารภัจจ์ เช่น คัมภีร์ธาตุบรรจบ ที่ระบุว่า ผู้แต่งคือหมอ ชีวกโกมารภัจจ์ มีเนื้อหาสำ �คัญกล่าวถึงโรคเกี่ยวกับอุจจาระ และมหาภูตรูป สาเหตุของโรค ลักษณะ ของอุจจาระ และตำ �รับยาที่ใช้รักษาโรค คัมภีร์ธาตุวิภังค์ ที่ระบุว่า ผู้แต่งคือหมอชีวกโกมารภัจจ์ มี เนื้อหาสำ �คัญกล่าวถึงโรคที่เกิดจากความผิดปรกติของธาตุ ๔ ที่เป็นไปตามฤดูต่าง ๆ รวมทั้งตำ �รับยา ในการแก้ไข คัมภีร์ประถมจินดา ที่อ้างว่าหมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นผู้แต่ง กล่าวถึงกำ �เนิดของโลกและ มนุษย์ การตั้งครรภ์และการคลอดบุตร เป็นต้น นอกจากนี้ ก็กล่าวถึงโรคที่เกิดกับแม่และทารก ตลอด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=