รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 221 ภัทรพร สิริกาญจน ธรรมชาติดังกล่าวนี้ โรคภัยไข้เจ็บเกิดจากกฎแห่งกรรม ในทำ �นองเดียวกัน การหายจากโรคก็เป็นไป ได้จากกรรมของมนุษย์เช่นกัน เช่น การรับประทานอาหารที่มีคุณภาพและการรับประทานยาที่ดีก็ ทำ �ให้หายจากโรคได้ และการทำ �จิตให้แจ่มใสก็ทำ �ให้ผ่อนคลายจากโรคบางโรคได้เช่นกัน ๔) กระบวนการชีวิตตามธรรมชาติตั้งแต่เกิดจนตาย พระไตรปิฎกได้บันทึกเรื่องกำ �เนิดของมนุษย์ไว้ใน มหาตัณหาสังขยสูตร ตามที่พระพุทธเจ้า ได้ตรัสแก่พระสาวกทั้งหลาย ณ พระเชตวันว่า สิ่งมีชีวิตเช่นมนุษย์จะเกิดขึ้นได้ก็โดยอาศัยปัจจัย ๓ ประการ คือ (๑) มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน (มีความสัมพันธ์ทางเพศกัน) (๒) มารดามีระดู (๓) มีคันทัพพะ (ปฏิสนธิวิญญาณ) มาถือกำ �เนิดในครรภ์ จากนั้นชีวิตในครรภ์จะใช้เวลา ๙-๑๐ เดือนจึงจะคลอดออก มาเป็นทารก (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, เล่ม ๑๒, ๒๕๓๙ : ๔๔๓–๔๔๔) กำ �เนิดของมนุษย์เป็น กระบวนการชีวิตตามธรรมชาติ ตามเหตุปัจจัย โดยปราศจากการแทรกแซงของสิ่งเหนือธรรมชาติ และพระเป็นเจ้า หลังจากที่มนุษย์เกิดแล้ว มนุษย์ก็ต้องเผชิญกับความทุกข์อันเนื่องมาจากความ เกิด ความแก่ ความเจ็บ และความตาย อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความทุกข์เกิดขึ้นทั้งทางกายและทาง จิต คำ �สอนทางพระพุทธศาสนาจึงแสดงความจริงดังกล่าวและแสดงแนวทางเพื่อแก้ไขความทุกข์นั้น ในเรื่องเกี่ยวกับการแพทย์ ความทุกข์แสดงออกให้ปรากฏเป็นความเจ็บป่วยทั้งทางกายและทางจิต เรียกว่า โรคทางกายและโรคทางจิต กระบวนการรักษาพยาบาลต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่าง แพทย์กับผู้ป่วย ด้วยเหตุนี้ คุณธรรมของแพทย์และการปฏิบัติตนของผู้ป่วยจึงเป็นเรื่องสำ �คัญ ในส่วน ของแพทย์ นอกจากความรู้ความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพแล้ว คุณธรรมความเมตตากรุณา ยังเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ประโยชน์ของความมีเมตตากรุณาของแพทย์คือ (๑) ทำ �ให้ผู้ป่วยมีความอบอุ่น ใจ มีกำ �ลังใจในการต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ และเต็มใจให้ความร่วมมือกับแพทย์ในกระบวนการรักษา พยาบาล ทำ �ให้การรักษาพยาบาลได้ผล (๒) ทำ �ให้แพทย์ประสบความสำ �เร็จในการรักษาพยาบาลผู้ ป่วย ในส่วนของผู้ป่วย การปฏิบัติตนเพื่อให้หายป่วยและพ้นทุกข์จากโรคภัยไข้เจ็บต้องอาศัยหลัก คิดและหลักปฏิบัติที่ถูกต้องซึ่งพระไตรปิฎกได้แสดงไว้ใน คิริมานันทสูตร ว่า พระอานนท์ได้กราบทูล พระพุทธเจ้าขณะประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ถึงเรื่องที่พระคิริมานนท์อาพาธเป็นไข้หนักและ เกิดทุกขเวทนาอย่างมาก พระพุทธเจ้าจึงตรัสให้พระอานนท์ไปเยี่ยมและแสดง สัญญา (การกำ �หนด พิจารณาในใจ) ๑๐ ประการ สรุปคือ (๑) อนิจจสัญญา พิจารณาว่า ขันธ์ ๕ ที่เป็นองค์ประกอบของมนุษย์นั้นไม่ยั่งยืน เปลี่ยน แปลงตลอดเวลา (๒) อนัตตสัญญา พิจารณาว่า อายตนะภายใน (ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ) และอายตนะ ภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือกายสัมผัส และธรรมารมณ์ หรือสิ่งที่รับรู้ทางใจ) เป็นสิ่ง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=