รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 219 ภัทรพร สิริกาญจน นั้น เช่น สัตว์ ต้นไม้ และภูเขาต่างก็มีการเกิดขึ้น ดำ �รงอยู่ และเสื่อมสลายไปในกาลเวลา ไม่มีสิ่ง ใดที่เป็นนิรันดร ดังที่พระไตรปิฏกได้บันทึกคำ �ตรัสสอนของพระพุทธเจ้าที่มีต่อพระสาวกทั้งหลาย ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ และธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา (มหาจุฬาลงกรณ- ราชวิทยาลัย, เล่ม ๒๐, ๒๕๓๙ : ๓๘๕) ซึ่งแสดงกฎธรรมชาติที่ประกอบหลักไตรลักษณ์และกฎ อิทัปปัจจยตา ไตรลักษณ์คือลักษณะ ๓ ประการที่เป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องกำ �หนดหมายให้เรารู้ ความจริงของสิ่งทั้งหลายว่าล้วนมีสภาพเป็นอนิจจตา (ความเป็นของไม่เที่ยง ความเปลี่ยนแปลง ได้ตลอดเวลา) ทุกขตา (ความเป็นทุกข์ ความเป็นของคงทนอยู่ไม่ได้) และ อนัตตตา (ความไม่มีตัว ตน) ทั้ง ๓ คำ �นี้ เรามักเรียกกันสั้น ๆ ว่า “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” แปลว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และ ไม่มีตัวตนให้ยึดถือได้ เป็นกฎธรรมชาติที่มีอยู่ตามธรรมดา จึงเรียกกันว่า “ธรรมนิยาม” มีข้อสังเกต ว่า คำ �ว่า “ธรรมนิยาม” (ความเป็นไปตามธรรมดา) มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก (มหาจุฬาลงกรณ- ราชวิทยาลัย, เล่ม ๑๖, ๒๕๓๙ : ๓๔) ส่วนคำ �ว่า “ไตรลักษณ์” เป็นคำ �ที่เกิดขึ้นในยุคอรรถกถา (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐) [พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), ๒๕๕๑ : ๑๑๙–๑๒๐] ส่วน กฎอิทัปปัจจยตาคือกฎที่แสดงกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย เป็นกฎธรรมชาติ คำ �ว่า “อิทัปปัจจยตา” เป็นภาษาบาลี แปลว่า “ภาวะที่มีสิ่งนี้เป็นปัจจัย” หมายถึง ความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัย ของมัน เช่น เมื่อมองเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็เกิดความรู้สึกต่อสิ่งนั้น กฎอิทัปปัจจยตา เรียกอีกอย่างหนึ่งได้ ว่า กฎปฏิจจสมุปบาท (กฎที่แสดงการเกิดขึ้นโดยอิงอาศัยกันของเหตุและผล) มนุษย์ก็เช่นกัน กล่าว คือ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นและเป็นไปตามกฎอิทัปปัจจยตา และเป็นเพียงสิ่งธรรมชาติอย่างหนึ่งใน ระบบธรรมชาติแห่งเหตุและผล มนุษย์มีเพื่อนร่วมโลกเป็นสัตว์และสิ่งอื่น ๆ ที่อยู่ภายใต้กฎธรรมชาติ เดียวกัน มีการเกิดและการดับสลายเหมือนกัน มนุษย์ควรเป็นอยู่ให้สอดคล้องกับธรรมชาติและไม่ ทำ �ตัวเป็นนายของธรรมชาติเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์เอง ไม่ว่าธรรมชาติจะสัมพันธ์กับมนุษย์ใน ด้านใดก็ตาม มนุษย์ก็ยังต้องพึ่งพิงอาศัยธรรมชาติ มนุษย์จึงควรปฏิบัติต่อธรรมชาติด้วยความรู้ ความเข้าใจในเหตุปัจจัยของมัน (ภัทรพร สิริกาญจน, ๒๕๕๔ : ๘๒) ในเมื่อมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ และต้องเปลี่ยนแปลงโดยเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไปตาม กฎธรรมชาติ มนุษย์จึงควรประคองจิตของตนเองด้วยความมั่นคง ไม่หวั่นไหว เมื่อต้องประสบกับ ความเจ็บและความตาย ๓) ความเชื่อในเรื่องกฎธรรมชาติ ความมีสุขภาพดีและความเจ็บไข้ได้ป่วยของมนุษย์เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันตาม กฎธรรมชาติ ความมีสุขภาพดีก็คือความปลอดพ้นจากโรค เป็นความสุขของมนุษย์ทุกคน ดังที่ พระพุทธเจ้าตรัสแก่มาคัณฑิยปริพาชกว่า “ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ นิพพานเป็นสุขอย่าง ยิ่ง” (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, เล่ม ๑๓, ๒๕๓๙ : ๒๕๕) โดยแสดงความหมายว่า ความไม่มีโรค
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=