รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 218 การแพทย์แผนไทย : คุณค่าและความสำ �คัญทางพุทธปรัชญา และลัทธิหลังนวยุค หยินซึ่งเป็นตัวแทนของสตรีเพศปรากฏให้เห็นเป็นกลางคืน เงา หุบเหว และความเยือกเย็น เป็นต้น ส่วนหยางซึ่งเป็นตัวแทนของบุรุษเพศ ปรากฏเป็นกลางวัน แสงสว่าง ภูเขา ท้องฟ้า และความอบอุ่น เป็นต้น ความสมดุลของ หยิน–หยาง คือความสมดุลของธรรมชาติทั้งระบบในจักรวาล ทั้งในร่างกาย ของมนุษย์และโลกภายนอก ส่วนพลังชี่เป็นพลังที่ทำ �ให้ร่างกายดำ �เนินไปอย่างปรกติ ทำ �ให้คนเรามี สุขภาพแข็งแรง การรักษาพลังชี่ให้เป็นปรกติหรือพัฒนาให้เจริญก้าวหน้ามากขึ้น เป็นไปได้โดยใช้วิธี ต่าง ๆ เช่น การจำ �กัดอาหาร การออกกำ �ลังกาย การฝังเข็มการฝึกฝนสมาธิจิต การแพทย์แผนจีนมี วิธีการรักษาที่นุ่มนวลสอดคล้องกับธรรมชาติของแต่ละบุคคลและใช้ตัวยาสมุนไพรเป็นหลักจึงให้ผล ช้ามากกว่าการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันหรือแบบตะวันตก (Qizhi, 2004 : 216-218) ศาสตราจารย์หลิว หยาง (Prof. Liu Yang) จากสถาบันจีนแห่งวิทยาศาสตร์การแพทย์จีน (China Academy of Chinese Medical Sciences) กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้กล่าว ไว้ใน “การประชุมนานาชาติว่าด้วยแนวคิดเรื่องสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บจากทรรศนะของวัฒนธรรม ทั้งสี่” (The International Conference of the Concept of Health and Disease from the Viewpoint of Four Cultures) ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ว่า วัฒนธรรมจีนยอมรับว่าจักรวาลดำ �เนินไปตามหลักการของหยินกับหยางซึ่งระบุ ไว้ในคัมภีร์สำ �คัญของลัทธิเต๋า (Taoism) คือคัมภีร์เต้าเต็กเก็ง (Yang, 2013) นอกจากนี้ ปรัชญา ว่าด้วยหยิน-หยาง ยังมีความสอดคล้องกับเรื่องธาตุทั้งห้าซึ่งได้แก่ โลหะ ไม้ น้ำ � ไฟ และดิน กล่าว คือ ธาตุทั้งห้าประกอบกันขึ้นเป็นสิ่งธรรมชาติในจักรวาลซึ่งมีสภาวะเปลี่ยนแปรไปตามหลักการ ของหยิน-หยาง มนุษย์ก็เช่นกัน เมื่อเจ็บป่วยแพทย์จะพิจารณาทั้งธาตุของบุคคลนั้น จึงเป็นการ คำ �นึงถึงทั้งร่างกายและจิตใจ ตลอดจนสภาพความสมดุลระหว่างกายและใจ ในขณะที่การแพทย์ แผนตะวันตกใส่ใจเฉพาะความเป็นไปทางร่างกายประการเดียว ศาสตราจารย์ลี่ หงเจียว (Prof.Li Hongjiao) จากสถาบันเดียวกันแสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า การแพทย์แผนจีนส่งเสริมให้มนุษย์เป็น อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ ถ้าเรารักษาจิตใจของเราให้สงบเย็นอยู่เสมอ เราก็จะสามารถหาย ป่วยได้เร็วขึ้น และน่าสังเกตว่า หลักการของการแพทย์แผนตะวันตกคือการรักษาโรคเมื่อเกิดอาการ ขึ้นแล้วหรือพยาธิวิทยา (pathology) ส่วนการแพทย์แผนจีนให้ความสำ �คัญต่อกระบวนการป้องกัน โรค (Hongjiao, 2013) เมื่อพิจารณาหลักการของการแพทย์แผนจีนโดยรวม จะเห็นได้ว่ามีความเป็น ธรรมชาตินิยมเช่นเดียวกับการแพทย์แผนไทยที่อิงหลักการทางพระพุทธศาสนา ๒) มนุษย์ในฐานะส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เมื่อพิจารณาจากคำ �สอนทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกและ คัมภีร์ชั้นรองอื่น ๆ จะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงคำ �สอนเกี่ยวกับมนุษย์ว่าเป็นส่วนหนึ่งของ ธรรมชาติและอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติ สิ่งธรรมชาติทุกสิ่งทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตก็มีสภาวะเช่น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=