รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 217 ภัทรพร สิริกาญจน ย่อย และน้ำ �เหลือง ธาตุลมทำ �หน้าที่ผลักดัน มีคุณสมบัติขยายตัวหรือหดตัว เช่น ลมในกระเพาะและ ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และธาตุไฟมีหน้าที่ปรับอุณหภูมิร่างกาย ถ้ามีพอดี จะทำ �ให้ร่างกายอบอุ่น สบาย ถ้ามีน้อยเกินไปก็ทำ �ให้รู้สึกหนาว แต่ถ้ามีมากเกินไปก็ทำ �ให้รู้สึกร้อนรุ่ม [พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), ๒๕๕๑ : ๗๑] เมื่อธาตุทั้ง ๔ ประเภท มีความสมดุลกัน ไม่มีธาตุใดธาตุหนึ่งมากหรือ น้อยกว่ากันจนเกินพอดี ร่างกายของเราก็เป็นปรกติสุข แต่ถ้าธาตุใดธาตุหนึ่งมากหรือน้อยเกินไป เช่น ถ้าธาตุไฟมากเกินไป เราก็เป็นไข้ ถ้าธาตุดินน้อยเกินไป กระดูกก็ไม่แข็งแรง ธาตุ ๔ เป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน และเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา สรรพสิ่งทั้งหลาย เช่น มนุษย์ สัตว์ สิ่งธรรมชาติต่าง ๆ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ปรากฏขึ้นก็เพราะการประกอบกันของธาตุ ๔ และสิ้นสลายไปก็เพราะการ แยกออกจากกันของธาตุ ๔ จึงไม่มีสิ่งใดเป็นอมตะในโลกและจักรวาล แม้แต่ธาตุ ๔ ก็มีอยู่ตามเหตุ ปัจจัยของมันและสิ้นสูญไปตามเหตุปัจจจัยเช่นกัน กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ การเกิดขึ้นและเป็นไป ของธาตุ ๔ ขึ้นอยู่กับกฎธรรมชาติ ไม่มีเทพเจ้าหรือพระเป็นเจ้ากำ �หนดและดลบันดาลให้เป็นไปแต่ อย่างใด เรื่องธรรมชาติของธาตุ ๔ มีอยู่ใน มหาสติปัฏฐานสูตร แห่งพระไตรปิฎกที่แสดงให้เห็นว่า ร่างกายของมนุษย์มีเพียงธาตุ ๔ เท่านั้น เมื่อมีชีวิตอยู่ก็ยังมีธาตุ ๔ ประกอบรวมกันอยู่ แต่เมื่อสิ้น ชีวิต ธาตุ ๔ ก็แยกแตกสลายไป เราจึงไม่ควรยึดมั่นอาลัยในร่างกายและควรพิจารณาให้เห็นความ จริงเกี่ยวกับธรรมชาติของร่างกาย (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, เล่ม ๑๒, ๒๕๓๙ : ๑๐๗–๑๐๙) นอกจากกายแล้วมนุษย์ก็ยังประกอบด้วยใจ ใจเป็นส่วนหนึ่งของความคิดและความรู้สึก ใจหรือจิตใจ กับร่างกายมีความสัมพันธ์กัน ถ้าจิตใจสบายดี ร่างกายก็สดชื่นกระฉับกระเฉง แต่ถ้าจิตใจเศร้าหมอง วิตกกังวล ร่างกายก็พลอยเศร้าซึมไม่กระตือรือร้นในการทำ �กิจกรรมใด ๆ คนเราจึงควรรักษากายใจ ให้เป็นปรกติและมีความสมดุลกันอยู่เสมอโดยใช้ชีวิตที่เหมาะสม รับประทานอาหารที่ย่อยง่ายและ เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ตลอดจนนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและไม่ปล่อยใจให้หมกมุ่นในอารมณ์ ต่าง ๆ จนเกิดความเครียด ความเชื่อในเรื่องธาตุ ๔ ของชาวพุทธมีความเป็นธรรมชาตินิยมเช่นเดียวกับความเชื่อเรื่อง ธาตุและหยิน-หยางของจีน ทฤษฎีการแพทย์แผนจีนถือว่า ร่างกายมนุษย์เป็นโลกส่วนย่อยหรือ เอกภพย่อย (microcosm) ทางธรรมชาติและทางสังคม กระบวนการต่าง ๆ ของร่างกายดำ �เนิน ไปโดยสอดคล้องกับกฎธรรมชาติและระบบการพัฒนาของเอกภพ (cosmos) การแพทย์แผน จีนเป็นการแพทย์แผนโบราณที่สืบทอดความคิดมาจากคัมภีร์การแพทย์ของพระจักรพรรดิเหลือง (The Yellow Emperor) ประมาณ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว มีเนื้อหาเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ การ ป้องกันและการรักษาโรค โดยนำ �เสนอทฤษฎีเรื่องหยิน (สารัตถะที่เป็นตัวแทนเพศหญิง) และหยาง (สารัตถะที่เป็นตัวแทนเพศชาย) ธาตุ ๕ ซึ่งได้แก่ โลหะ ไม้ น้ำ � ไฟ และดิน และชี่ (พลังลมปราณ หรือพลังชีวิต) การวินิจฉัยโรคคือการพิจารณาดูหยิน หยาง และพลังชี่ ว่ามีความสมดุลหรือไม่

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=