รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 216 การแพทย์แผนไทย : คุณค่าและความสำ �คัญทางพุทธปรัชญา และลัทธิหลังนวยุค พยาบาล ตลอดจนส่งเสริมการเลือกที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับสภาพของร่างกายและจิตใจ การดำ �รง รักษาร่างกายและจิตใจให้สมดุลจึงเป็นหลักการสำ �คัญในการมีสุขภาพดีของทุกคน ๒. แนวคิดเรื่องสุขภาพของมนุษย์แบบธรรมชาตินิยม คำ �ว่า “ธรรมชาตินิยม” มีความหมายกว้างขวางตามแง่มุมในการนิยามและอธิบายขยาย ความของนักคิดและนักปรัชญาแต่ละคน ความหมายในส่วนที่สอดคล้องกับทรรศนะทางพระพุทธ- ศาสนาอาจระบุได้เป็น ๒ ทรรศนะดังนี้ ๑) ทรรศนะที่ไม่ยอมรับอำ �นาจเหนือธรรมชาติ (anti-super naturalistic view) มีแนวคิด ว่า ปรากฏการณ์แต่ละอย่างเกิดขึ้นและเป็นไปตามความสัมพันธ์กันทางธรรมชาติ ไม่เกี่ยวข้องกับ อำ �นาจเหนือธรรมชาติ เมื่อมีปัจจัยที่เหมาะสมตามกาลเทศะ กระบวนการธรรมชาติดังกล่าวก็อุบัติ ขึ้นและเป็นไปด้วยตนเอง ไม่ถูกบงการโดยสิ่งอื่นใด ๒) ทรรศนะที่นิยมวิทยาศาสตร์ (proscientific view) มีแนวคิดว่า วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เท่านั้นที่อธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติได้อย่างสมเหตุสมผล เพราะวิธีการทางวิทยาศาสตร์ศึกษา ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ (empirical facts) ที่สามารถอ้างอิงได้ในประสบการณ์ของมนุษย์ (ภัทรพร สิริกาญจน, ๒๕๕๔ : ๗๗) ในเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพของมนุษย์ แนวคิดแบบธรรมชาตินิยมทำ �ให้เรามองเห็นว่า มนุษย์คือ สิ่งธรรมชาติและเป็นส่วนหนึ่งของโลกธรรมชาติ มีการพัฒนาไปตั้งแต่เกิดจนตายตามกระบวนการ ตามธรรมชาติ ดังนั้น ความเจ็บไข้ได้ป่วยหรือความมีสุขภาพแข็งแรงดีของมนุษย์จึงเป็นไปตามเหตุ ปัจจัยตามกฎธรรมชาติ ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นไปจากอำ �นาจของสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติแต่อย่างใด การรักษาพยาบาลจึงมุ่งที่การรักษาความสมดุลในตัวมนุษย์และความสมดุลระหว่างมนุษย์กับ ธรรมชาติแวดล้อม อาหารและยาที่ใช้ส่งเสริมสุขภาพและรักษาความเจ็บป่วยของมนุษย์ก็เป็นสิ่ง ธรรมชาติ เช่น สมุนไพรและพืชผัก ไม่ใช่สารสังเคราะห์จากกระบวนการทางเคมี ทรรศนะแบบธรรมชาตินิยมที่เกี่ยวกับมนุษย์และสุขภาพของมนุษย์ อาจพิจารณาได้ใน ประเด็นต่าง ๆ ต่อไปนี้ ๑) องค์ประกอบตามธรรมชาติของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนประกอบขึ้นด้วยกายและจิตเรียกว่า ขันธ์ ๕ ซึ่งเกิดขึ้น ดำ �รงอยู่ และสิ้น สลายไปตามเหตุปัจจัยของมัน ส่วนประกอบที่เป็นร่างกายเรียกว่า “มหาภูตรูป” จำ �แนกเป็น ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ �) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) และวาโยธาตุ (ธาตุลม) (มหาจุฬาลงกรณ- ราชวิทยาลัย, เล่ม ๙, ๒๕๓๙ : ๒๒๐) ธาตุดิน ทำ �หน้าที่ค้ำ �จุนร่างกายให้คงสภาพ ถ้าปรากฏในสิ่ง ใดมากเกินไปก็ทำ �ให้แข็ง เช่น กระดูกฟัน ถ้าปรากฏอยู่น้อยก็ทำ �ให้อ่อน เช่น เนื้อ ปอด มันสมอง ธาตุน้ำ �ทำ �หน้าที่เชื่อมประสานระบบต่าง ๆ เข้าด้วยกันและมีคุณสมบัติเคลื่อนไหล เช่น เลือด น้ำ �
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=