รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 214 การแพทย์แผนไทย : คุณค่าและความสำ �คัญทางพุทธปรัชญา และลัทธิหลังนวยุค อายุรเวท คือศาสตร์เก่าแก่ดั้งเดิมศาสตร์หนึ่งที่เกิดขึ้นในประเทศอินเดียก่อนยุคพระเวท มีเนื้อหา เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การป้องกันและรักษาโรคแบบองค์รวมโดยอิงอาศัยความสัมพันธ์กัน ระหว่างกาย จิต วิญญาณ และสังคม (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๒ : ๒๗๘) วิชาอายุรเวทได้รับการ ยอมรับเชื่อถือว่า เป็นวิชาศักดิ์สิทธิ์และเป็นส่วนหนึ่งของอถรรพเวท (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖ : ๑๔๐๘) ในคัมภีร์พระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนาไม่ปรากฏว่ามีการใช้คำ �ว่า “อายุรเวท” ที่หมายถึงวิชาแพทย์แผนโบราณ อาจเป็นเพราะคำ �นี้เกิดขึ้นภายหลังประมาณพุทธ- ศตวรรษที่ ๘ ในวรรณคดีของศาสนาพราหมณ์และเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการเคารพบูชาพระ เป็นเจ้าซึ่งไม่มีอยู่ในความเชื่อทางพระพุทธศาสนา (สถาบันการแพทย์แผนไทยฯ, ๒๕๓๗ : ๑๕) อย่างไรก็ตาม ความรู้ด้านอายุรเวทเข้ามาสู่การแพทย์แผนไทยได้ก็โดยอาศัยความรู้จากทั้งศาสนา พราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา (ซึ่งมีบางตอนกล่าวถึงการแพทย์แผนโบราณของอินเดียและ บทบาทของหมอชีวกโกมารภัจจ์) แนวคิดที่สำ �คัญของอายุรเวทที่สอดคล้องกับพระพุทธศาสนาและแตกต่างไปจากการ แพทย์แผนตะวันตกหรือแผนปัจจุบันโดยทั่วไปก็คือ ๑) การให้ความสำ �คัญต่อการรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการแปลความหมายของจิต กระบวนการรับรู้ทำ �ให้เกิดความสุขหรือความทุกข์ต่อผู้รับรู้ ตลอดจนความมีสุขภาพดีหรือเลว เช่น การได้ยินคำ �นินทาว่าร้ายอาจทำ �ให้ใจขุ่นมัวและเป็นเหตุให้กินไม่ได้ นอนไม่หลับ จนมีสุขภาพ เสื่อมโทรมได้ การหลีกเลี่ยงวงนินทาหรือการไม่ใส่ใจคำ �นินทาจึงเป็นประโยชน์ในการรักษาสุขภาพ ทั้งกายและใจ ซึ่งการแพทย์แผนตะวันตกจะให้ความสำ �คัญเฉพาะการรักษาอาการเฉพาะที่ เฉพาะ หน้า และอาการทางร่างกาย มากกว่าที่จะคำ �นึงถึงการปรับกระบวนการทางจิต เช่น ถ้านอนไม่หลับ ก็ให้ยาระงับประสาทหรือยานอนหลับ หรือถ้าอาหารไม่ย่อยก็ให้รับประทานยาช่วยย่อย (สถาบันการ แพทย์แผนไทยฯ, ๒๕๓๗ : ๒๗-๒๘) ๒) อายุรเวทและพระพุทธศาสนายอมรับว่าความเจ็บไข้ได้ป่วยและความตายของบุคคลมี ความเชื่อมโยงกับกฎแห่งกรรม คนบางคนเกิดมามีสุขภาพดี เจ็บป่วยน้อย บางคนกลับเจ็บป่วยบ่อย ตลอดชีวิต บางคนอายุยืน บางคนอายุสั้น สิ่งเหล่านี้ถูกกำ �หนดด้วยกฎแห่งกรรม แต่อายุรเวทมีพระ เป็นเจ้าอยู่เบื้องหลัง กฎแห่งกรรมและกฎธรรมชาติโดยรวม ส่วนแนวคิดทางพระพุทธศาสนาให้ ความสำ �คัญต่อกรรมที่เป็นการกระทำ �ของมนุษย์เอง ๓) อายุรเวทและพระพุทธศาสนาส่งเสริมให้มนุษย์มีชีวิตอย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ ทำ �ตัว ให้สอดคล้องกับกฎธรรมชาติและรักษาความสมดุลทางกาย ทางจิต และทางความสัมพันธ์ระหว่าง กายกับจิตเพื่อให้มีสุขภาพดี ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ และมีอายุยืนยาวเท่าที่จะเป็นไปได้ เช่น การ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=