รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 213 ภัทรพร สิริกาญจน แพทย์แผนไทยร่วมกับแพทย์แผนตะวันตก มีหลักสูตร ๓ ปีและจัดพิมพ์ตำ �ราแพทย์เป็นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๓๘ คือ ตำ �ราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม ๑-๔ พ.ศ. ๒๔๕๐ ถือเป็นตำ �ราของชาติฉบับแรก ต่อมาพระยาพิษณุประสาทเวช (หมอคง) เห็นว่าตำ �ราดังกล่าวอ่านเข้าใจได้ยาก จึงเรียบเรียงตำ �ราขึ้น ใหม่ คือ ตำ �ราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง ๒ เล่ม และ ตำ �ราแพทย์ศาสตร์สังเขป ๓ เล่ม ซึ่ง กระทรวงสาธารณสุขยังใช้มาจนถึงปัจจุบัน (เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ๒๕๓๘ : ๒๗) วิชาการแพทย์แผนไทยได้ถูกรัฐบาลยกเลิกใน พ.ศ. ๒๔๖๖ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๔๕๓–๒๔๖๘) โดยรัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติ การแพทย์เพื่อควบคุมการประกอบโรคศิลปะซึ่งป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนจากการ รักษาพยาบาลของแพทย์และพยาบาลที่ขาดคุณภาพ ทำ �ให้หมอพื้นบ้านจำ �นวนมากเลิกประกอบ อาชีพและเผาตำ �ราทิ้งเพราะกลัวถูกจับ ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๔๖๘–๒๔๗๗) การแพทย์แผนไทยกับการแพทย์แผนตะวันตกได้ปรากฏวิธีการ รักษาผู้ป่วยและผลจากการรักษาผู้ป่วยที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนยิ่งขึ้นทุกที พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้มีกฎหมายเสนาบดีเพื่อแบ่งประเภทของแพทย์ออกเป็น ๒ ประเภท และจัดแบ่งการประกอบโรค ศิลปะเป็น ๒ ประเภท กล่าวคือ ๑) ประเภทแผนปัจจุบัน หมายถึง แพทย์ผู้ประกอบโรคศิลปะโดยใช้ความรู้ที่เป็นหลักวิชา สากลที่พัฒนาขึ้นโดยอาศัยการศึกษา ค้นคว้า และทดลองทางวิทยาศาสตร์ ๒) ประเภทแผนโบราณ หมายถึง แพทย์ผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยการสังเกต ความ ชำ �นาญที่เกิดจากการฝึกฝนมายาวนาน หรือความรู้จากตำ �ราที่สืบทอดมาแต่โบราณ โดยไม่อิงอาศัย วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ๒๕๓๘ : ๓๑) ความสำ �คัญของการแพทย์แผนไทยได้ปรากฏชัดเจนมากขึ้นในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๕- ๒๔๘๖ ซึ่งเป็นช่วงที่สงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้แผ่ขยายเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำ �ให้เกิดการ ขาดแคลนยารักษาโรค ขณะนั้น ศาสตราจารย์นายแพทย์ อวย เกตุสิงห์ กำ �ลังศึกษาวิจัยสมุนไพรที่ ใช้รักษาไข้มาลาเรียอยู่ที่โรงพยาบาลสัตหีบ เมื่อสงครามโลกสงบลง รัฐบาลจึงส่งเสริมให้โรงงาน เภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข ผลิตยาสมุนไพรเป็นยารักษาโรค หลังจากนั้นใน พ.ศ. ๒๕๐๐ ผู้ เกี่ยวข้องในการศึกษาค้นคว้าและทำ �การรักษาด้วยการแพทย์แผนโบราณได้ร่วมกันก่อตั้งสมาคมของ โรงเรียนแพทย์แผนโบราณขึ้นที่วัดโพธิ์ กรุงเทพฯ จากนั้น โรงเรียนแพทย์แผนโบราณและสมาคมที่ เกี่ยวข้องก็เกิดขึ้นเป็นจำ �นวนมากทั่วประเทศ ใน พ.ศ. ๒๕๒๖ ศาสตราจารย์นายแพทย์ อวย เกตุ- สิงห์ ได้ก่อตั้งมูลนิธิฟื้นฟูการแพทย์ไทยเดิมขึ้น ทำ �ให้เกิดอายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์) ในเวลา ต่อมา (เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ๒๕๓๘ : ๓๓) “อายุรเวท” มาจากคำ �ว่า “อายุส” แปลว่า “ชีวิต” และ คำ �ว่า “เวท” แปลว่า “ความรู้”

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=