รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 212 การแพทย์แผนไทย : คุณค่าและความสำ �คัญทางพุทธปรัชญา และลัทธิหลังนวยุค เห็นระบบการจัดยาที่ชัดเจน แหล่งจำ �หน่ายยาและสมุนไพรหลายแห่งสำ �หรับประชาชนทั่วไป เมื่อเข้าสู่สมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๒๕–๒๓๕๒) ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม (วัดโพธิ์) ขึ้นเป็นพระอารามหลวง และให้นามว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ทรงให้รวบรวมและจารึกตำ �รายา ตำ �ราการนวดไทยไว้ตามศาลาราย ตลอดจนจัดทำ �รูปปั้นฤาษีดัดตนเพื่อให้ความรู้พื้นฐานด้านการบริหารร่างกายไว้เผยแพร่แก่ประชาชน ทั่วไปด้วย ในรัชสมัยของพระองค์ได้จัดตั้งกรมหมอหรือโรงพระโอสถในพระบรมมหาราชวัง คล้าย กับที่มีอยู่ในสมัยอยุธยา ผู้ที่รับราชการอยู่ในกรมหมอ เรียกว่า หมอหลวง ส่วนหมอที่รักษาประชาชน ทั่วไปเรียกว่า หมอราษฎรหรือหมอเชลยศักดิ์ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ. ๒๓๕๒-๒๓๖๗) ทรงมีพระประสงค์ที่จะฟื้นฟูคัมภีร์แพทย์ที่สูญหายไปจากโรงพระโอสถสมัย อยุธยา จึงทรงรวบรวมตำ �รายาจากผู้รู้ทั้งปวงและโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมอหลวงคัดเลือกและจดเป็น ตำ �ราหลวง สำ �หรับโรงพระโอสถ นอกจากนั้น ใน พ.ศ. ๒๓๕๙ ก็ทรงมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎหมายชื่อ กฎหมายพนักงานพระโอสถถวาย เพื่อควบคุมบทบาทหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้ ปรุงยาและจ่ายยา (เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ๒๕๓๘ : ๑๙-๒๑) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๖๗–๒๓๙๓) พระองค์ทรงให้ ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ อีกครั้งและโปรดเกล้าฯ ให้จารึกตำ �รายาไว้บนแผ่นหินอ่อนประดับตาม ผนังโบสถ์และศาลารายรอบวัด แสดงข้อมูลเกี่ยวกับสมุฎฐานของโรคและวิธีรักษา ทั้งยังจัดหาต้น สมุนไพรที่ใช้ปรุงยาและหายากมาปลูกไว้ในวัดเป็นจำ �นวนมากเพื่อเผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชน นอกจากนี้ ยังทรงให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดราชโอรสารามและจารึกตำ �รายาไว้บนแผ่นศิลาตามเสา ระเบียงพระวิหารเช่นกัน เหตุการณ์สำ �คัญประการหนึ่งในรัชสมัยของพระองค์คือการเข้ามาของ การแพทย์แผนตะวันตกโดยการนำ �ของคณะมิชชันนารีชาวอเมริกัน มีนายแพทย์ แดน บี. แบรดลีย์ (Dr. Dan B. Bradley) เป็นหัวหน้าคณะ เริ่มการรักษาและป้องกันโรค เช่น การปลูกฝีป้องกันไข้ ทรพิษและการใช้ยาเม็ดควินินรักษาโรคไข้จับสั่น แม้การแพทย์แผนตะวันตกจะให้ผลสำ �เร็จใน การรักษาพยาบาลอย่างรวดเร็ว แต่คนไทยโดยทั่วไปก็ยังนิยมการแพทย์แผนไทยซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของวิถีชีวิตไทยอย่างไม่เสื่อมคลาย ดังเช่น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๙๔–๒๔๑๑) ได้ทรงส่งเสริมการแพทย์แผนตะวันตกในเรื่องการสูติกรรม (การทำ �คลอด) สมัยใหม่ แต่ก็ไม่สามารถทำ �ให้ประชาชนเลิกใช้บริการจากหมอตำ �แยได้ นับตั้งแต่การแพทย์แผนตะวันตกได้เข้าสู่ประเทศไทยและมีบทบาทในชีวิตของประชาชน ควบคู่ไปกับการแพทย์แผนไทย ทำ �ให้เกิดความขัดแย้งในแนวคิดและวิธีการรักษาพยาบาลอย่าง กว้างขวาง ใน พ.ศ. ๒๔๓๑ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๔๑๑–๒๔๕๓) ได้จัดตั้งศิริราชพยาบาลเพื่อจัดการเรียนการสอนและการรักษาพยาบาลแบบ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=