รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 200 มัชฌิมนิยม และทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต จากนั้นไม่มีอะไรเหลืออีกเลยในความเป็นมนุษย์ ความหวังเพื่อชีวิตโลก หน้า สรวงสวรรค์และพรหมโลกเป็นความเพ้อฝันและโง่เขลาของมนุษย์ “นกพิราบในกำ �มือพร้อม ปรุงเป็นอาหารได้ ยังดีกว่าจินตนาการหวังได้นกยูงในป่าเขา ซึ่งก็ไม่รู้จะได้มาหรือไม่ เมื่อใด...จึงเป็น เรื่องธรรมดาในโลกมนุษย์ที่ผู้แข็งแรงกว่าจะพึงถือเอาผลประโยชน์เหนือคนอ่อนแอกว่า ดุจปลาใหญ่ ย่อมกินปลาเล็กเป็นอาหาร ฉันใดก็ฉันนั้น เช่นนี้เป็นเรื่องธรรมดา” ๒๖ แต่พุทธปรัชญาถือว่า ความเป็น มนุษย์ปรุงแต่งขึ้นด้วยองค์ประกอบทางกายภาพแห่งวัตถุธรรมกับจิตภาพแห่งนามธรรม ทั้งสองอิง อาศัยกันบูรณาการเข้าด้วยกันเป็นชีวิตมนุษย์ตามธรรมชาติในกฎธรรมชาติและตามเหตุผลในกฎแห่ง กรรม กายกับจิตมิใช่สิ่งเดียวกัน สิ่งมุ่งหมายสูงสุดของมนุษย์คือ ความสิ้นทุกข์ มิใช่เพียงเพื่อสะดวก สบายและสนุกจากความหมกมุ่นมัวเมา และลุ่มหลงในการเสพเสวยกามารมณ์ที่ทำ �ให้มนุษย์กลาย เป็นทาสวัตถุ ๒. สายจิตนิยม : ปรัชญาสายพระเวท สอนให้เชื่อเรื่องพระผู้เป็นเจ้า โดยชื่อหลากหลายมี พระพรหมเป็นต้นเค้า ทำ �หน้าที่ผู้สร้าง พิทักษ์รักษา และทำ �ลายโลกพร้อมสรรพสิ่ง ชะตาชีวิตมนุษย์ เป็นไปตามพรหมลิขิตที่ถูกวางแผนและกำ �หนดไว้ล่วงหน้าเรียบร้อยแล้ว มนุษย์จึงไม่มีเจตจำ �นงอิสระ ใด ๆ ในความรับผิดชอบชะตาชีวิตตนเอง ความจริงสูงสุดคือพรหมัน-ปรมาตมันสิ่งมุ่งหวังสูงสุดของ มนุษย์คือ พรหมโลกที่อาตมันของมนุษย์แต่ละชีวิตหวังกลับคืนเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับพรหมัน มรรควิธี ให้มนุษย์บรรลุสิ่งมุ่งหวังสูงสุดนั้นคือ บำ �เพ็ญตบะทรมานตัวเองลักษณะต่าง ๆ บูชายัญ ไสยศาสตร์ เครื่องรางของขลัง น้ำ �มนตร์ น้ำ �ศักดิ์สิทธิ์ วิงวอนขอพรพระผู้เป็นเจ้าด้วยความจงรักภักดีสุดชีวิต หวังให้โปรดปราน เอ็นดู สงสาร และช่วยเหลือนานัปการ มนุษย์ช่วยตัวเองไม่ได้ ถ้าปราศจากอำ �นาจ ศักดิ์สิทธิ์บันดาลจากเทพการุณ-การโปรดปรานจากสวรรค์ สังคมมนุษย์เป็นระบบแบ่งแยกชนชั้น วรรณะสืบทอดทางสายเลือด กำ �หนดล่วงหน้าจากสวรรค์ การเมืองการปกครองเป็นระบบอภิชนา นิยมราชาธิปไตย การเศรษฐกิจเป็นระบบอภิชนานิยมธนาธิปไตย พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธวิถีชีวิตสุดโต่งแนวจิตนิยม รวมศูนย์กลางอยู่ที่เรื่องพระพรหม “...ที่ท่านทั้งหลายควรเชื่อถือได้ก็แต่เรื่องที่เป็นจริง ถูกต้องดีงาม มีเหตุผลและให้ประโยชน์สุข ปฏิบัติได้โดยประสบการณ์จริงและด้วยความพยายามของท่านเอง ในฐานะเป็นมนุษย์ (มนุสฺสภูโต) เท่านั้น พวกพราหมณ์พากันอิงจินตนาการเรื่องพระพรหมและที่เนื่องด้วยพระพรหม โดยไม่อาศัย ประสบการณ์จริงและพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ด้วยเหตุด้วยผล ก็เปรียบได้กับคนหลงใหลคลั่งไคล้และ ๒๖ ศึกษาความละเอียดใน Radhakrishnan : Indian Philosophy Vol. I. Chap. V., George Allen & Unwin LTD, New York 1966, Potter,K.H.(Ed.) : Encyclopedia of Indian Philosophy Vol. I. part I, pp. 49-60.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=