รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 199 สิทธิ์ บุตรอินทร์ นี้ชื่อว่าเป็นผู้ครองใจประชาชน เสมือนบิดามารดาของประชาชน...เพราะเสียงประชาชนคือเสียง สวรรค์ ประชาชนจึงสำ �คัญที่สุด ประเทศชาติสำ �คัญรองลงมา ส่วนผู้ปกครองนั้นสำ �คัญน้อยที่สุด...” ๒๔ ๓. มัชฌิมนิยมอินเดีย อินเดียเป็นบ่อเกิดลัทธิศาสนาและปรัชญาหลายระบบมากกว่าดินแดนใด ๆ ในโลก ประมวล ได้ ๙ กลุ่ม ๑) กลุ่มถือพระเวท-พราหมณ์-ฮินดู (Âstika) มี ๖ สำ �นัก และ ๒) กลุ่มปฏิเสธพระเวท (Nãstika) มี ๓ สำ �นัก เมื่อถือตามการแบ่งปรัชญา ได้ ๓ ระบบหลักคือ ๑) จิตนิยม-เทวนิยม ตาม สายคัมภีร์พระเวท ๒) วัตถุนิยม-บริโภคนิยม-กามสุขนิยม ตามสายจารวากะ และ ๓) มนุษยนิยม- มัชฌิมนิยม-เหตุผลนิยม ตามสายพุทธ ๓.๑ พุทธมัชฌิมนิยม : ในบรรดาลัทธิศาสนาและปรัชญาเหล่านั้น มัชฌิมนิยม-ปรัชญา สายกลาง นี้หมายเอาพุทธปรัชญาโดยตรงและหนึ่งเดียวเท่านั้นของปรัชญาอินเดียที่เน้นด้านภว- วิทยา จริยศาสตร์ ญาณวิทยา ตรรกศาสตร์ และคุณวิทยา มัชฌิมนิยมนี้ ผู้เขียนตีความ อธิบาย ความ และประยุกต์ความหมายจาก “มชฺฌิมาปฏิปทา-ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา” แห่งอริยสัจ ๔ ข้อ สุดท้ายในพระปฐมเทศนา-ธัมมจักกัปปวัฒนสูตร ๒๕ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนให้หลีกเลี่ยง ละเว้น ปฏิเสธ และข้ามพ้นวิถีชีวิตสุดโต่ง สุดขั้วและตกขอบ (อนฺตา-Extremisms) ๒ สายคู่ขนานกันและ ขัดแย้งกันที่เหล่ามนุษย์พากันหลงเชื่อและดำ �เนินชีวิตตามแต่อดีต เพื่อหวังเข้าสู่พรหมโลกอยู่กับพระ พรหม (พรฺหมสหพฺยตา) แต่พุทธปรัชญาไม่ได้เกิดจากการสังเคราะห์ (Synthesized) เอาปรัชญาสุด โต่ง ๒ ระบบทั้งหมด หรือบางส่วนบางลักษณะมาปรุงแต่งขึ้นเป็นมัชฌิมนิยม ในลักษณะมัชฌิมนิยม กรีกและมัชฌิมนิยมจีน ดังกล่าวมาแล้ว ดังนั้น จึงถือได้ว่าพุทธปรัชญามีลักษณะเป็นการปฏิวัติและ ปฏิรูปทางวัฒนธรรมคติธรรมของมนุษย์ในโลกตะวันออกที่ข้ามพ้นวิถีชีวิตสุดโต่ง ๒ สาย คือ ๑. สายวัตถุนิยม : ปรัชญาจารวากะ (Cãravãka) มีทรรศนะว่าสรรพสิ่งรวมทั้งมนุษย์เกิด จากปฐมธาตุแห่งสสารวัตถุ คือ ดิน น้ำ � ไฟ ลม อากาศ แม้สิ่งที่เรียกว่า จิตใจหรือดวงวิญญาณ ก็ได้ จากคุณสมบัติของสสารวัตถุเหล่านั้น มีสมองเป็นศูนย์บัญชาการอยู่ “เกิดมามีชีวิตเป็นแบบมนุษย์ได้ ทั้งที จงพยายามเต็มกำ �ลังในทุกโอกาสและทุกวิถีทางเพื่อแสวงหา สะสม และเสพเสวยสุขในผล ประโยชน์ รวมลงที่การหมกมุ่นและมัวเมาในกามารมณ์-รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้และให้ได้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้” ความตายคือความสูญสิ้นชีวิต ๒๔ Moore, C.A. (Ed.) : The Chinese Mind , East-West Center Press, Honolulu 1967, p. 316. ๒๕ ศึกษาความพิสดารใน วินย.๔/๑๓/๑๘; ทีฆ.มหา.๔/๑๒; สํ.ม.๑๙/๑๖๖๔/๕๒๘; สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส : พุทธประวัติ เล่ม ๑ หน้า ๔๗-๖๙ ; และพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) : พุทธธรรม บทที่ ๑๑

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=