รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 198 มัชฌิมนิยม ๒.๔.๒ ตามทรรศนะสายขงจื๊อ ๒๓ การสังคมของมนุษย์เป็นเรื่องธรรมชาติกับวัฒนธรรม ผิด จากสังคมสัตว์อื่นที่เป็นไปตามธรรมชาติของสัตว์ล้วน ๆ แต่การเมืองเป็นเรื่องสำ �หรับมนุษย์เท่านั้น กระนั้น การสังคมและการเมืองของมนุษย์มีขึ้นเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงและสลับซับซ้อนหลายชั้น หลายลักษณะเพิ่มขึ้นไม่สิ้นสุด เพราะการเรียนรู้และเจตจำ �นงเสรีของมนุษย์ที่ต้องอยู่ในกรอบ ปัญญาธรรม คุณธรรม จริยธรรม มนุษยธรรม กฎกติกา นิติธรรม และเหนืออื่นใด ต้องไม่ออกนอกวิถี สายกลางการดำ �เนินชีวิตทั้งส่วนตัวและส่วนรวมแยกออกจากกันเด็ดขาดไม่ได้ สังคมในอุดมคติคือ สังคมหนึ่งเดียวกันแห่งมนุษยชาติ ทุกคนอยู่รวมและร่วมกันด้วยอาศัย คุณธรรมดังกล่าว มนุษย์เกิดคนเดียว อยู่คนเดียว และตายไปคนเดียวย่อมเป็นไปไม่ได้ โดยไม่ เกี่ยวข้องกับผู้อื่นสิ่งอื่นเลย ชีวิตที่สมบูรณ์ต้องสัมพันธ์กันและพึ่งพาอาศัยกัน เป็นอยู่ มีอยู่ มนุษย์ ให้กำ �เนิดสังคมกับรัฐ และรัฐกับสังคม เสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์กันเช่นนี้ตลอดไป มนุษย์ควรต้องไม่ เอาตัวรอดเป็นยอดดี ตัวใครตัวมัน แม้เป็นถึงนักปราชญ์ราชบัณฑิตพึงใจอยู่อย่างสงบสงัดสันโดษ แต่ ไม่พึงผละตนออกจากความเป็นธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม ตราบเท่าที่มนุษย์ยังสัมพันธ์กัน อยู่ตามสถานภาพพร้อมภาระหน้าที่หลากหลาย ยังมีปัญหายุ่งยากนานัปการและอยู่อย่างสงบสุขยัง ไม่ได้ การเมืองในอุดมคติไม่ถือเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ ชั้นวรรณะ และลัทธิศาสนา ไม่ทำ �ให้มนุษย์แบ่ง แยกกัน มนุษย์มีเชื้อชาติเดียวเท่านั้น คือ มนุษยชาติ ประชาชนมีชีวิตเสมอภาคกัน ประกอบสัมมาชีพ เป็นหลักเป็นฐานมั่นคงตามสภาพและปกติภาพ การได้มาซึ่งผู้ปกครองบริหารใช้วิธีที่ไร้อคติสรรหา เอาคนที่เชื่อได้ว่าดีที่สุดสามารถที่สุดในหมู่มวลประชาชน มอบหมายให้เป็นรัฐบาลปกครองบริหาร ประเทศชาติ การเมืองระบบนี้จึงเรียกว่า ไต้ท้ง หมายถึง “วิถีเสมอภาคอันใหญ่ยิ่ง” ทุกคนคือเพื่อน มนุษย์เหมือนกันหมด เพื่อสร้างสันติสุขและมั่นคงแท้จริงขึ้นในโลกมนุษย์ การเมืองจะต้องเลิกความ รู้สึกนึกคิด นโยบายความเชื่อและวิธีการให้เกิดการแบ่งแยกแตกต่างถือเขาถือเราโดยสิ้นเชิง หลอม รวมให้กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกันด้วยจิตสำ �นึกในการเดินตามวิถีสายกลางแห่งใจเขาใจเรา รู้เขา รู้เรา การเมืองในอุดมคติจึงต้องให้ทุกคนได้รับโอกาสเสมอภาคกันในการพัฒนาชีวิตได้ประสบความ มั่นคง สงบสุขทุกถ้วนหน้า ขงจื๊อและศานุศิษย์เรียกการเมืองการปกครองระบอบสูงสุดนี้ว่า ไท้เพ้ง- มหาสันติสุขนิยม “...การใช้พระเดชหรือเดชานุภาพเหนือพระคุณ ย่อมทำ �ให้ประชาชนเกรงกลัวและ เสแสร้งจำ �ยอมได้บ้างก็จริง แต่รัฐบาลย่อมต้องได้รับความเกลียดชัง นำ �พาสู่หายนะแน่นอน...สิ่งใดที่ ประชาชนพอใจ เรา (รัฐบาล) จงพอใจ สิ่งใดที่ประชาชนเกลียดชัง เราก็จงเกลียดชัง ผู้ใดทำ �ได้เช่น ๒๓ Shils-lieu, H.L. : The Political Philosophy of Confucious , New York, 1932, pp. 247-259.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=