รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 197 สิทธิ์ บุตรอินทร์ ๕) ความไม่เห็นแก่ตัว ๖) ความขยันหมั่นเพียรไม่ท้อแท้ และ ๗) ความเมตตากรุณา ๒.๔ มัชฌิมนิยมทางสังคมและการเมือง : การสังคมของมนุษย์สืบเนื่องมาจากธรรมชาติวิถี ที่ได้รับการดัดแปลงปรุงแต่งเพิ่มเติมให้เป็นมนุษยวิถีในการอยู่รวมและร่วมกัน ส่วนการเมืองเป็น มนุษย์วิถี สร้างสรรค์ขึ้นเฉพาะโดยมนุษย์เพื่อความสงบสุข มั่นคงและยุติธรรมในสังคม การประกอบ การทั้ง ๒ ของมนุษย์จะต้องไม่ฝ่าฝืนและละเมิดวิถีสายกลางธรรมชาติและที่มนุษย์ร่วมกันกำ �หนด ขึ้นตามวิถีสายกลางแห่งคุณธรรม มนุษยธรรม และยุติธรรม ดังนั้น มนุษย์นอกจากเป็นผู้สร้างสังคม และการเมืองที่ไม่ฝืนวิถีสายกลางธรรมชาติแล้ว ยังต้องถูกสร้างและกำ �หนดโดยธรรมชาติ สังคม และ การเมืองให้เป็นไปตามที่ปรัชญาระบบนั้น ๆ กำ �หนดชี้นำ �อีกด้วย ๒.๔.๑ ตามทรรศนะสายเล่าจื๊อ สังคมและการเมืองเป็นความพยายามของมนุษย์ใน การลอกเลียนธรรมชาติและพยายามดำ �เนินวิถีชีวิตออกห่างธรรมชาติ ยิ่งฝ่าฝืนและละเมิดระเบียบ แบบแผนธรรมชาติออกไปไกลวิถีสายกลางของธรรมชาติเท่าไร มนุษย์ยิ่งประสบปัญหายุ่งยากและ ความหายนะเพิ่มขึ้นเท่านั้น รัฐในอุดมคติคือรัฐที่ปกครองบริหารโดยมุนี (Sage) ผู้เป็นปราชญ์ภายใน เป็นราชาธิบดีภายนอก รัฐบาลในอุดมคติคือรัฐบาลที่ยังประชาชนพลเมืองให้บรรลุสันติสุขตามปรกติ ธรรมชาติของประชาชาติแต่ละชีวิตไม่ใช่ตามใจรัฐบาล การปกครองในอุดมคติคือการปกครองที่ไม่ ต้องปกครองใคร ให้ประชาชนปกครองกันเองตามวุฒิภาวะที่พัฒนาขึ้นด้วยวัฒนธรรมทางการศึกษา อบรมที่ถูกต้องเพียงพอ ดังนั้น รัฐบาลที่ดีที่สุดคือรัฐบาลที่ปกครองบริหารประเทศชาติโดยประชาชน พลเมืองไม่รู้สึกว่าตนถูกปกครอง เพราะมีวุฒิภาวะพึ่งตนเอง เป็นตัวของตัวเองและปกครองตนเอง ได้ ส่วนรัฐบาลที่เลวที่สุดคือ รัฐบาลที่ถือตามวิถีอำ �นาจนิยม-พระเดชเหนือพระคุณ ใช้อำ �นาจฝ่าย ต่าง ๆ มีทหารตำ �รวจและกฎหมาย เป็นต้น กดขี่ข่มเหง ทำ �ร้ายทำ �ลายประชาชน คอยเพ่งโทษจำ �ผิด และลงโทษประชาชน “อันว่ากฎหมายและข้อบังคับ ยิ่งมีมาก ประชาชนก็ยิ่งไร้วุฒิภาวะ ฝ่าฝืน อยู่ กันลำ �บากยากแค้น และไร้ระเบียบวินัย เหยียบย่ำ �กฎกติกา อาวุธยุทโธปกรณ์เพิ่มขึ้น ความยุ่งยากใน สังคมเพิ่มขึ้น ยิ่งกฎข้อบังคับแพร่ไปในทุกเรื่อง ผู้คนเจ้าปัญหาเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบมิจฉาชีพยิ่งชุกชุม ดังนั้น ราชาปราชญ์จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าปกครองโดยมิได้ทำ �อะไรเลย ประชาราษฎร์ก็รู้จักปรับปรุง ตนเอง ข้าพเจ้าใฝ่สันติ สันโดษ รู้จักพอ ดำ �รงชีวิตพอดีพอประมาณ ประชาราษฎร์ก็ใฝ่ธรรมและสงบ สุข ข้าพเจ้าละเว้นการหาประโยชน์ใส่ตนและคนแวดล้อมตน ประชาราษฎร์ก็มั่งคั่งร่ำ �รวย ข้าพเจ้าไม่ ทะยานอยากเกินพอดีพองาม ประชาราษฎร์ก็อยู่กันเรียบง่าย มั่นคง และบริสุทธิ์” ๒๒ ๒๒ ดูความละเอียดใน สิทธิ์ บุตรอินทร์ : ปรัชญาเปรียบเทียบมนุษยนิยมตะวันออกกับตะวันตก. อ้างแล้ว, หน้า ๒๐๒-๒๐๙.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=