รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 196 มัชฌิมนิยม ให้พอดีพองาม หนังสือเรื่องวิถีสายกลางของขงจื๊อมีเนื้อหาหลายตอนเกี่ยวกับคุณลักษณะและการ หน้าที่ของคนดีในอุดมคติ ความรับผิดชอบของผู้ปกครองในอุดมคติ และการปฏิบัติภาระหน้าที่ของ ราชาปราชญ์ผู้ปกครองบริหารประเทศให้ประชาชนดำ �เนินชีวิตเป็นปรกติสุข มีระเบียบกติกา ๒๑ ๑. วิถีการทำ �ธรรมชาติมนุษย์ให้สมบูรณ์เรียกว่า เต๋า การปลูกฝังเต๋าเรียกว่า วัฒนธรรม ของมนุษย์ความเป็นกลาง-อุเบกขา สถานะความเป็นกลางและเป็นปรกติ คือ รากฐานสำ �คัญยิ่งของ ธรรมชาติและความเป็นมนุษย์ที่ดี ๒. ชีวิตของคนดีย่อมดำ �เนินตามวิถีสายกลางได้เป็นอย่างดีเพราะเขายึดมั่นอยู่ในความเป็น กลางตลอดชีวิต ชีวิตของคนชั่วเป็นชีวิตตรงข้ามชีวิตของคนดี เพราะเขาไม่รู้จักยับยั้งชั่งใจและ อ่อนแอที่จะละเว้นความพอดี ๓. ทางสายกลาง เป็นวิถีอันประเสริฐสมบูรณ์เพื่อมนุษย์ แต่คนทั่วไปเดินหลงทางแห่งเหตุ กับผล ความพอดีพองาม ความเป็นปรกติ และความสมดุลระหว่างกายกับใจตน ระหว่างตนกับผู้อื่น และระหว่างคนกับธรรมชาติ ๔. คนดีต้องปฏิบัติตนตามสถานภาพที่เขาเป็นอยู่มีอยู่ ต้องไม่ทุรนทุรายให้ได้สิ่งที่อยู่ภาย นอกเกินสถานการณ์นั้น ๆ คนดีจึงต้องดำ �เนินชีวิตตามวิถีสายกลาง ไม่มีสถานการณ์ใด ๆ ที่คนดี เข้าไปสู่แล้วจะไม่เป็นตัวของตัวเอง เมื่อเขาอยู่ในตำ �แหน่งที่เหนือกว่า ก็จะไม่กล่าวร้ายทำ �ลายผู้อยู่ใต้ อำ �นาจบังคับบัญชา เมื่อเขาอยู่ในตำ �แหน่งลูกน้อง ก็จะไม่เอาชีวิตไปแขวนไว้กับผู้มีอำ �นาจเหนือกว่า เขาจะประพฤติตนเป็นตัวของตัวเองให้ถูกต้องดีงามด้วยตนเอง และไม่มุ่งแต่แสวงหาสิ่งใด ๆ จาก ผู้อื่น เขาจะไม่มีความขุ่นเคืองใจเดือดร้อนใจใด ๆ เลย เขาจะไม่วิงวอนฟ้า ทั้งจะไม่กล่าวโทษมนุษย์ ดังนั้น คนดีตามวิถีสายกลางก็จะมีชีวิตอยู่อย่างปลอดภัยสงบสุขและสง่างาม ๕. ถ้ามีคนดีคนสุจริตและยุติธรรมเป็นผู้นำ �แล้ว การปกครองก็จะเจริญรุ่งเรืองไม่พาบ้าน เมืองสู่หายนะ ให้คนทั้งหลายมีการศึกษาดีเพียงพอและเฉลียวฉลาด โดยการปฏิบัติตามวิถีสายกลาง แห่งเต๋า แหล่งที่มาแห่งมนุษยธรรม ที่ทำ �ให้เป็นมนุษย์จริง ๆ ความยุติธรรมก็คือการทำ �สิ่งที่ถูกต้อง ปราศจากอคติตามหลักมนุษยธรรม ๖. ตามวิถีสายกลางความสัมพันธ์พื้นฐานระหว่างมนุษย์ด้วยกันมี ๕ สถานภาพ คือ ๑) ผู้ปกครองกับประชาราษฎร์ ๒) บิดามารดากับบุตรธิดา ๓) สามีกับภรรยา ๔) พี่กับน้อง ๕ ) มิตร สหาย ความสัมพันธ์ทั้ง ๕ นี้ เกี่ยวกับคนทั้งปวง คุณธรรม ๗ ประการย่อมใช้ให้เป็นคุณประโยชน์ แก่คนดีทั้งปวงคือ ๑) ความรู้ ๒) มนุษยธรรม ๓) ความกล้าหาญ ๔) ความสุภาพอ่อนโยน ๒๑ จำ �นงค์ ทองประเสริฐ : เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๖๙-๑๗๓.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=