รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 195 สิทธิ์ บุตรอินทร์ มนุษย์เป็นหนึ่งเดียวกันและเสมอเหมือนกันภายใต้กฎธรรมชาติเดียวกัน แม้ได้ชีวิตจาก ธรรมชาติ อยู่ได้โดยอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ และการดัดแปลงล้อเลียนธรรมชาติ แต่มนุษย์ยังมี คุณสมบัติเฉพาะของตนเองตามธรรมชาติมนุษย์และวัฒนธรรมที่มนุษย์อาศัยความรู้และคุณธรรม สร้างเสริมเติมแต่งธรรมชาติให้เป็นวิถีสายกลาง ระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ และระหว่างมนุษย์กับ มนุษย์ ดังนั้น ธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์เป็นกลาง ๆ ได้ดุลยภาพสงบและปรกติสุขหวู-เว่ย (WuWei) ซึ่งหมายถึง ความเคลื่อนไหววงจรชีวิตไปตามบรรทัดฐานแห่งธรรมดา ปรกติ และดุลยภาพ ไม่ฝืน ความเป็นจริงตามปรกติธรรมชาตินั้น ๆ เพราะทุกสิ่งและทุกเรื่องย่อมมีความพอดีของตัวเองสอดคล้อง กับปรกติภาพของธรรมชาติที่ดำ �เนินไปตามวิถีสายกลาง ไร้อคติ การดิ้นรนหวังเอาชนะธรรมชาติฝืน ความจริงธรรมชาติอาจทำ �ได้ในระดับที่ไม่เกินความจริงตามธรรมชาติ เปรียบได้กับพยายามตัดขานก ยางกับต่อขาเป็ด ด้วยหวังให้สัตว์ ๒ ชนิดนี้มีความเหมือนกันและเท่าเทียมกันตามใจมนุษย์ อาศัย สูตรมัชฌิมนิยมแห่งความพอดีพอประมาณ สมดุลไม่ขาดไม่เกินนี้ มนุษย์ควรต้องมีชีวิตอยู่ตามความ จำ �เป็นความเป็นปรกติและสันโดษ ที่ไม่ลดและไม่เกินตัวและเกินธรรมชาติ ควรต้องมีชีวิตอยู่อย่าง เรียบง่าย สงบสุข สง่างาม ด้วยความพึงพอใจ ในเรื่องมนุษย์ การพยายามเขย่งเท้าเพื่อจะให้ตนโดด เด่นอยู่เหนือคนอื่น ย่อมอยู่ได้ไม่นาน คนแสดงตนมีพระเดชพระคุณเหลือหลาย กลับจะกลายเป็นคน ถูกเนรคุณและเกลียดชัง ไม่มีผู้ใดนับถืออย่างจริงใจ ไม่ต้องทำ �ตัวเกินปรกติตนให้เด่นดังหรอก คนทั้ง หลายย่อมรู้และมองท่านออกอยู่ดี ดังนั้น ในการครองชีวิตอยู่ตามวิถีสายกลาง มนุษย์พึงรู้จักพอเสีย บ้าง ควรพึงพอใจในความเป็นและความมีของตน ท่านโลภหลงตัวมามากและมานานเกินพอดีพองาม แล้วมิใช่หรือ คนที่รู้จักพอดีพอประมาณ ย่อมไม่ได้รับความอับอายขายหน้าเสียผู้เสียคนภายหลัง ผู้ ใดรู้จักพอและปล่อยวางเสียบ้าง ย่อมไม่ตกระกำ �ลำ �บากน่าสมเพชเวทนาภายหลัง ผู้นั้นย่อมมีชีวิตอยู่ ยาวนานอย่างปกติสุขสง่างาม ๑๙ ๒.๓ คนดีในอุดมคติ : คนดีย่อมถือความเป็นมนุษย์ ๒๐ เท่าเทียมกัน และพัฒนาให้บรรลุ ความเป็นเลิศได้ด้วยกันทั้งนั้น โดยต้องผ่านการศึกษาเล่าเรียนและฝึกอบรมคุณธรรมในการดำ �เนิน ชีวิตตามวิถีสายกลางแห่งความพอดีและจารีตประเพณีรวม ๒ มิติเป็น หลี่ : หลักการและวิถีสาย กลาง ในการประพฤติปฏิบัติส่วนบุคคลตามหลักศีลธรรม ระเบียบกติกาสังคมและกฎแห่งจักรวาล หลี่ทำ �สิ่งที่ยาวเกินไปให้สั้น และทำ �สิ่งสั้นเกินไปให้ยาว จึงได้ขนาดพอดี ทำ �สิ่งมีมากเกินไปให้ลดลง และทำ �สิ่งมีน้อยเกินไปให้เพิ่มขึ้น จึงได้สิ่งพอดี แสดงออกซึ่งความงามของความรักและความเคารพ ๑๙ ประยงค์ สุวรรณบุปผา (เรียบเรียง) : คัมภีร์เต๋าเต้จิง . สำ �นักพิมพ์ศิลปบรรณาคาร กรุงเทพฯ ๒๕๓๙ บทที่ ๓ และ ๔๔. ๒๐ จำ �นงค์ ทองประเสริฐ (แปล) : บ่อเกิดลัทธิประเพณีจีน , หน้า ๓๘, ๑๕๕-๑๕๘.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=