รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 194 มัชฌิมนิยม มัชฌิมนิยมของขงจื๊อสอนเน้นการประพฤติปฏิบัติตนให้ถูกต้องดีงามในความสัมพันธ์ทาง ครอบครัวและสังคมด้วยหลักความพอดีพอประมาณ ไม่ขาดไม่เกิน ปรองดองน้ำ �หนึ่งใจเดียวกัน ใจ เขาใจเรา ผ่อนสั้นผ่อนยาว พึ่งพาอาศัยกันให้ได้ดุลยภาพและยุติธรรม ทั้งหมดคือคุณค่าอันประเสริฐ ที่มนุษย์พึงต้องมีต่อกัน เป็นกัลยาณมิตรกัน จึงจักบรรลุลาภ ยศ เกียรติศักดิ์ สันติสุข และเจริญ รุ่งเรือง ร่วมกันสร้างสรรสังคมประเทศ ด้วยสมานฉันท์ สามัคคีธรรม มโนธรรมและมนุษยธรรม คน ดำ �เนินชีวิตวิถีสายกลาง ย่อมต้องอาศัยความพอดี เป็นมาตรฐานในการพึ่งตัวเองและพึ่งพากันและ กัน ยืนหยัดในเหตุผล ลดอหังการมมังการ ฝึกตนเป็นคนสุภาพอ่อนนอกแข็งใน ไม่ยอมจำ �นนต่อ ปัญหาชีวิต ถือขนบธรรมเนียมประเพณี รู้จักเลือกสรรไม่ทิ้งของเก่าไม่มัวเมาของใหม่ไม่ท้อถอยใน การแสวงหาความเจริญก้าวหน้า พึงพอใจในสัมฤทธิผลที่ได้ประสบ ฝึกใจให้รู้จักพอ “...การไม่ทำ �ตัว ต่ำ �ต้อยด้อยศักดิ์ศรี และไม่หยิ่งยะโสโอหังเหยียบย่ำ �เหยียดหยามคนอื่น ก็คือ การปฏิบัติต่อกันเสมอ ภาคเท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์ เมื่อเผชิญกับผู้เหนือกว่า ต้องไม่หวาดหวั่นพรั่นพรึง เสแสร้ง แกล้งพินอบพิเทา ประจบสอพลอ ไม่แสดงอาการยะโสเหยียดหยามดูแคลนข่มเหงฝ่ายต่ำ �กว่า อัน ฐานะตำ �แหน่งย่อมมีสูงมีต่ำ �แตกต่างกัน วิชาความรู้ก็อาจตื้นลึกกว้างแคบไม่เท่ากัน เป็นเรื่องธรรมดา ทว่าคุณค่าและความหมายของความเป็นคนล้วนเสมอภาคเท่าเทียมกัน...” ๑๘ ๒.๒ มัชฌิมนิยม : ตรงกับ “จงย้งจือเต้า” จากคัมภีร์จงย้งของขงจื๊อ ตีความขยายความ แนวคิดและความเชื่อเรื่องหยินหยาง พลังคู่แห่งวิถีเต๋าเป็นพลังคู่แห่งดุลยภาพในการสร้างสรรค์ สรรพชีวิตให้กลมกลืนกัน แยกออกจากกันไม่ได้ ในสรรพสิ่งมีฝ่ายหนึ่งย่อมต้องมีอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งคู่หา ได้เป็นพลังขัดแย้งกันไม่ ไม่มีหยินย่อมไม่มีหยาง มีแต่หยินหรือหยางข้างใดข้างหนึ่งย่อมไม่มีสิ่งมีชีวิต รวมถึงมนุษย์ด้วยในการแสวงหา สะสม และเสวยผลประโยชน์เพื่อความสุขดังหมายนั้น มนุษย์ควร ต้องปฏิบัติตามปรกติแห่งธรรมชาติและแห่งมนุษยชาติในกรอบกติกา กฎหมาย และขนบธรรมเนียม บนพื้นฐานมโนธรรม มนุษยธรรม และยุติธรรม ความคิดเห็นและความเชื่อที่ทรงคุณค่าก็เฉพาะเท่า ที่ช่วยให้มนุษย์บรรลุประโยชน์สุขอันชอบธรรมตามวิถีสายกลางเท่านั้น จงย้งจือเต้าอันหมายถึง วิถี สายกลางด้วยสามัคคีธรรม ความพอดี ดุลยภาพไม่ขาดไม่เกิน นอบน้อมถ่อมตน มัธยัสถ์ ซื่อตรง ยุติธรรม ใจเขาใจเรา เหมาะสม ปรองดอง ลงตัว ใฝ่ประนีประนอม ผ่อนสั้นผ่อนยาว กลมเกลียว เว้น ห่างการเหยียดหยามลบหลู่ผู้อื่น บัวไม่ช้ำ �น้ำ �ไม่ขุ่น หากสุดวิสัยทำ �อะไรไม่ได้ ก็ให้ตั้งอยู่ในอุเบกขา ธรรม-ทำ �ใจให้สงบนิ่งเป็นปรกติสุข ๑๘ Fung YuLan : The Spirit of Chinese Philosophy op.cit., pp. 279-287.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=